การศึกษาผลของการพัฒนาระบบการรายงานความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาและกระบวนในห้องยา ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความคลาดเคลื่อนจากการสังใช้ยา, การสั่งใช้ยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์, ระบบการรายงานกระบวนการในห้องยาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบการรายงานความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาและการปรับกระบวนการในห้องยา และเพื่อศึกษาเปรียบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาเมื่อแพทย์สั่งใช้ยาผ่านระบบ CPOE เทียบกับระบบดั้งเดิม หลังการปรับระบบการรายงานและกระบวนการ ห้องยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 1 ตุลาคม 2567 ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์การรายงานความคลาดเคลื่อนเดิม 0.92 เพิ่มเป็น 4.50 ต่อ 1,000 ใบสั่งยา จำนวนการรายงานความคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นจาก 378 รายงาน เป็น 2,412 รายงาน เมื่อจำแนกพบเป็นการรายงานเมื่อสั่งใช้ยาผ่านระบบ CPOE 1,214 รายงาน และระบบดั้งเดิม 1,198 รายงาน และการสั่งใช้ยาผ่านระบบ CPOE และระบบดั้งเดิมเป็นความรุนแรงระดับ B ทั้งหมด ผลการเปรียบความคลาดเคลื่อนเมื่อสั่งใช้ยาผ่านระบบ CPOE เทียบกับระบบดั้งเดิม พบความคลาดเคลื่อนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจำนวน 4 รายการ ได้แก่ การสั่งยาผิดวิธีการให้ยา, การสั่งยาผิดจำนวน, การไม่สั่งยาที่ต้องได้ต่อเนื่อง และคำสั่งยาไม่ชัดเจน และความความคลาดเคลื่อนที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 13 รายการ ได้แก่ การสั่งยาผิดขนาด, การสั่งที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา, การสั่งยาผิดชนิด, การสั่งยาซ้ำซ้อน, การสั่งยาผิดระเบียบ PTC, การสั่งยาผิดเวลา, การสั่งยาที่ไม่จำเป็น, การสั่งยาผิดรูปแบบ, การสั่งยาที่ไม่มีในบัญชียาโรงพยาบาล, การสั่งยาที่มีอันตรกิริยาต่อกัน, การสั่งยาผิดคน, การสั่งยาผิดเอกสาร และการสั่งยาที่มีข้อห้ามใช้
References
จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภาสกร รัตนเดชสกุล. ความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication error) กับการใช้ประโยชน์ในระบบการจัดการด้านยา [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก:https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=303
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). กรอบงานพื้นฐานระบบยา เรื่องการทบทวนคำสั่งการใช้ยา[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihp.org/wp-content/uploads/2022/06/หนังสือกรอบงานพื้นฐาน.pdf
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). ระบบการจัดการด้านยา (Medication Management System) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/files/MMS-thai-2010_Witchunee.pdf
ระบบการรายงานและเรียนรู้อุบัติการณ์ความเสี่ยงทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ประเทศไทย. NRLS: National Reporting and Learning System in Thailand [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://thai-nrls.org/
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาโรงพยาบาลขอนแก่น. แนวทางปฏิบัติคู่มือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบยาโรงพยาบาลขอนแก่น การรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/14591d_l45Zu6AtUd3OT2WonIdfnvRnT/view?pli=1
National Coordinating Council for Medication Error Report and Prevention (NCC MERP) [Internet]. [cited 2025 Mar 30]. Available from: http://www.nccmerp.org/aboutmederror.htm
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2025]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/09/strategyMOPH2019.pdf
สุทธิลักษณ์ ริ้วธงชัย. ผลการพัฒนาระบบการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโดยใช้ใบยาอิเล็กทรอนิกส์ต่อความคลาดเคลื่อนทางยาโรงพยาบาลบางจากสมุทรปราการ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566; 16: 72-85.
ประไพพิม จุลเศรษฐี. การศึกษาการพัฒนาระบบคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาของผู้ป่วย โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2565; 18: 5-16.
สุภาพร สนองเดช. การศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยาในงานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลเลย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2559; 24(2): 123-132.
วรัญญา ญาติปราโมทย์. การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 2563; 9: 20-30.
ชูเกียรติ เพียรชนะ. ปัจจัยทำนายความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. THAI BULLETIN PHARMACEUTICAL SCIENCES. 2024; 19(1): 1-18.
อัญชลี อังศธรรมรัตน์ และสุจิตรา ตั้งมั่นคงวรกุล. ผลของการคัดกรองคำสั่งใช้ยาและอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์วารสาร. 2564; 18: 1-10.
เกษศรินทร์ ขุนทอง, อัลจนา เฟื่องจันทร์. การพัฒนาระบบบริการด้านยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอผักไห่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2558; 11(ฉบับพิเศษ): 82-8.
สมปารถนา ภักติยานุวรรตน์. การเปรียบเทียบการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาระหว่างระบบสั่งจ่ายยาแบบใหม่กับระบบสั่งจ่ายยาแบบเดิมในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชัยภูมิ. เชียงรายเวชสาร. 2563; 12: 99-13.
สุมิตรา สงครามศรี, มาลินี เหล่าไพบูลย์. การสั่งยาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในการลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี:Interrupted Time Series Design. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560; 13(2): 53-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว