ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 ในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรัง โรงพยาบาลโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
โรคไตเสื่อมเรื้อรัง, ปัจจัยเสี่ยง, ภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5บทคัดย่อ
โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลก เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงโดยเฉพาะการรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้าย โรงพยาบาลโคกสูง จังหวัดสระแก้ว (รพช.ขนาด 30 เตียง) มีผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 (CKD stage 5)ในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ศึกษาแบบ retrospective cohort study แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคด้วย risk ratio (95% CI) ในการวิเคราะห์ตัวแปรอิสสระและ adjusted odds ratio (95% CI) ใน multiple logistic regression ผลการศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2567 ทั้งสิ้นจำนวน 111 คน เป็นผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 65.76 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 ในการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระอย่างมีนัยสำคัญ 3 ปัจจัย ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (HT) (RR = 2.48, 95% CI = 1.07, 5.75), ภาวะ Anemia (RR = 1.68, 95% CI = 1.13, 2.51) และโรคไขมันในเลือดสูง (DLP) (RR = 1.48, 95% CI = 1.07, 2.05) ส่วนปัจจัยที่มีนัยสำคัญในการวิเคราะห์ multiple logistic regression เพียงปัจจัยเดียว ได้แก่ ภาวะ Anemia (adjusted OR = 4.25, 95%CI= 1.35 -13.40) ข้อเสนอแนะควรเฝ้าระวังการถดถอยของไตสู่ภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 อย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่มีภาวะซีด (Anemia) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเลือกการรักษาตามอาการ ดังนั้น ควรพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (palliative care), รักษาแบบแพทย์ทางเลือกเพื่อรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่จะมีจำนวนสูงขึ้นในอนาคต
References
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2023/03/27217
Thanakitcharu P. Current Situation of Chronic Kidney Disease in Thailand. Department of Medical Services Journal 2015; 5(1), 5-18 (in Thai)
Hill NR, Fatoba ST, Oke JL, Hirst JA, O’Callaghan CA, Lasserson DS, et al. Global prevalence of chronic kidney disease - a systematic review and meta-analysis. PLOS ONE 2016; 11(7): 1-18.
Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population:Thai SEEK study. Nephrology Dialysis Transplantation 2010; 25: 1567-1575.
Webster AC, Nagler EV, Morton RL, Masson P. Chronic Kidney Disease. The Lancet 2017; 389: 1238-1252.
National Center for Chronic Disease Prevention and Health Promotion. National Chronic Kidney Disease Fact Sheet [Internet]. Atlanta:GA; 2017 [cited 2017 Oct 22]. Available from: http://www.cdc.gov/diabetes/pubs/pdf/kidney_factsheet.pdf.
Bureau of Non-Communicable Disease. Clinical practice guideline for the operation of reducing chronic kidney disease (CKD) in patients with diabetes and hypertension. Bangkok: The Agricultural CO-operative of printing; 2017. Thai.
Bhumirajanagarindra Kidney Institute. Chronic Kidney Disease Prevention Project. Bangkok: Bumirajanagarindra Kidney Institute; 2015.
ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. ความรู้เรื่องโรคไตสำหรับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บริษัท เฮลธ์ เวิร์ค จำกัด; 2557.
Hingle, D.E., Wiersma, W., Jurs, S.G. (1979). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Chicago: Rand McNally College.
Iseki K , Kohagura K. Anemia as a risk factor for chronic kidney disease. Kidney international (2007) 72, S4-S9; doi:10.1038/sj.ki.5002481.
Wondimeneh Shibabaw Shiferaw, Tadesse Yirga Akalu, Yared Asmare, Aynalem. Risk Factors for Anemia in Patients with Chronic Renal Failure: A Systematic Review and Meta-Analysis. Ethiop J Health Sci 2020; 30(5): 829-842.
American diabetes association. Standards of medical care in diabetes 2017. Diabetes Care Journal. 2017; (40): 88-98.
Suleymanlar G, ỳparmak MR, Seyahi N. Registry of the Nephrology Dialysis and Transplantation in Turkey (Registry-2011) Istanbul: Published by the Turkish Society of Nephrology, 2011; 17(12): 81-93.
Lea JP, Nicholas SB. Diabetes mellitus and hypertension: key risk factors for kidney disease. J Natl Med Assoc. 2002; 94:7S–15S.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว