การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ในอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โลหิตจาง, หญิงตั้งครรภ์, ขาดธาตุเหล็กบทคัดย่อ
ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและจังหวัดขอนแก่น ปี 2565 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น พบได้สูงถึงร้อยละ 22.92 ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จะส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนขณะคลอดหรือหลังคลอด เช่น ตกเลือดหลังคลอด อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ผลกระทบต่อทารกคือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำหนักตัวน้อย และต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลนาน ส่งผลต่อพัฒนาการที่ล่าช้า สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางคือ การขาดธาตุเหล็กทั้งก่อนตั้งครรภ์และได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการขณะตั้งครรภ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ทุกราย ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์เพื่อลดการขาดธาตุเหล็ก โดยมีแนวทางการให้ยาเสริมธาตุเหล็กตามระดับความรุนแรงของภาวะโลหิตจางคือ ระดับรุนแรงน้อย รุนแรงปานกลาง รุนแรงมาก มีการติดตามประเมินก่อนและหลังที่ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก โรงพยาบาลเปือยน้อย นำนโยบายดังกล่าวมาพัฒนาแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในอำเภอเปือยน้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีกระบวนการดำเนินงานคือ 1) จัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการประเมินภาวะโลหิตจาง 2) การแบ่งระดับภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 3) การติดตามระดับฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริต 4) ระบบส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่าย 5) การให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และการมีส่วนร่วมของญาติในการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก ผลการพัฒนาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่โลหิตจางในอำเภอเปือยน้อย ลดลงเหลือร้อยละ 10.8
References
กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ระดับเขตสุขภาพ[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567]. จาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/anemia.
World Health Organization (WHO).Haemoglobin concentrations for the diagnosis of anemia and assessment of severity (in pregnancy). Geneva:World Health Organization (WHO); 2011.
อัจฉรา พานิชพงษ์พันธุ์, ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ,โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี [อินเทอร์เน็ต] 2566. [เข้าถึงวันที่ 1 กันยายน 2567]. จาก https://nrh.nopparat.go.th/academic/public/view/read.php? id=18.
อาภาพร ศีระวงศ์. การเปรียบเทียบภาวะโลหิตจางก่อนและหลังให้การส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลจัตุรัส. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์บรีรัมย์2562; 34:3:34;453-65.
Braymann C. Iron deficiency anemia in pregnancy. Semin Hematology 2015;52(4):339-47.
ชลธิชา ตานา, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ ,ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์.[อินเทอร์เน็ต]. 2554, [เข้าถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567]. จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5679/.
Jung J, Rahman MM, Rahman MS, Swe KT, Islam MR, Rahman MO, Akter S. Effects of hemoglobin levels
duringpregnancy on adverse maternal and infant outcomes: a systematic review and meta-analysis. Ann N Y
Acad Sci.2019 Aug;1450(1):69-82. doi:10.1111/nyas.14112. Epub 2019 May 31. PMID: 31148191
กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. สำนักโภชนาการ. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
[อินเทอร์เนต] 2556, [เข้าถึงข้อมูลวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568] จาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/194488.
กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับ
ที่ 2 [อินเทอร์เน็ต] 2560-2569. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2567]. จาก https://rh.anamai.moph.go.th/th/download03/download?
id=39711&mid=31985&mkey=m_document&lang=th&did=13759.
เอกอมร เทพพรหม. ภาวะโลหิตจาง. [เข้าถึงวันที่ 10 กันยายน 2567] จากhttp://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/34_2015-09-04.pdf.p1-2.
สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการรักษาภาวะโลหิตจางและธาลัสซีเมีย [อินเทอร์เนต] 2562, [เข้าถึง
วันที่ 10 กันยายน 2567] จาก https://www.tsh.or.th.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง, [เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน 2567] จาก http://www.cai.md.chula.ac.th
ธีระ ทองสง , Anemia in pregnancies[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงวันที่ 1 มีนาคม 2567.จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/anemia-in-pregnancy/.
ชลธิชา ตานา , ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2554, [เข้าถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567]. จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5679/.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. เรียงร้อยและตกผลึกแนวคิดคุณภาพฐานของการสร้างความไว้วางใจ.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) [อินเทอร์เน็ต] 2564. [เข้าถึงวันที่ 20 เมษายน 2567]:17-39. จาก https://backend.ha.or.th/fileupload/DOCUMENT/00185/77ff6ed2-ce05-4db0-b028-658cefcc19ec.pdf.
ธัญญารัตน์ สิงห์แดง, ไพฑูรย์ พรหมเทศ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Health and Environmental Education VOL.8 NO.2 April - June 2023 , P. 101-8. upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/mother%20and%20child/a5-01.pdf.
วิไล ปรางทอง, ศรีสุดา อัศวพลังกูล, มงคล สุริเมือง. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกในโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก.วารสารเกื้อการุณย์. 2567; 31:1:40
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว