การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนบทคัดย่อ
วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบและประเมินผล การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คัดเลือกผู้ร่วมดำเนินการวิจัยแบบเจาะจง จำนวน 156 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ 100 คน ผู้ดูแล 40 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 16 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบคัดกรองความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม การสนทนากลุ่ม และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ขาดความรู้ความเข้าใจและขาดแนวทางในการป้องกันการหกล้มมีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ มีประวัติเคยหกล้ม และจัดที่พักอาศัยไม่เหมาะสม 2) การพัฒนารูปแบบเน้นการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน มี 7 กิจกรรม คือ (1) คัดกรองความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม (2) กำหนดแนวทางปฏิบัติ (3) พัฒนาคู่มือการเรียนรู้ (4) อบรมเชิงปฏิบัติการ (5) เยี่ยมบ้าน (6) พัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และ (7) ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 3) ผลลัพธ์ พบว่า (1) ผลทดสอบการเดินไปกลับ 3 เมตร (TUGT) ก่อนและหลังมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี กลุ่มที่ใช้เวลาเดิน มากกว่า 20 วินาที ลดลงจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 10 กลุ่มที่ใช้เวลาเดิน 13.50-19.99 วินาที ลดลง จากร้อยละ 85 เป็นร้อยละ 30 และกลุ่มที่ใช้เวลาเดิน น้อยกว่า 13.50 วินาที เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 (2) เกิดแนวทางปฏิบัติและนวัตกรรมป้องกันพลัดตกหกล้ม คือ อุปกรณ์กายบริหารเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (3) เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 3C 2E 2P
References
กรมกิจการผู้้สูงอายุุ.สถานการณ์์ผู้สูงอายุุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ : บริิษััทอมรินทร์คอร์เปอเรชันส์จำกัด (มหาชน) , 2566.
กรมกิจกรรมผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๘๐). [อินเตอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/laws/th1653553501-843_0.pdf
กรมควบคุมโรค กองป้องกันการบาดเจ็บ. รายงานสรุปผลการประเมินความรอบรู้การป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/3714020230919075839.pdf
ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คาอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหาน, ทิพวรรณ ทับซ้าย. สถานการณ์ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564; 15(36): 44-62.
นงนุช เชาวน์ศิลป์, พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์, จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์; 2563.
เยาวลักษณ์คุมขวัญ, อภิรดี คาเงิน, อุษณีย์ วรรณลัย, นิพร ขัดตา. แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านในผู้สูงอายุ: บริบทของประเทศไทย. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข. 2561; 28(3): 10-22.
สำนักงานสาธารณสุขมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุในระบบฐานข้อมูล MIS.HDC service. [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/main/ index.php.
กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ปี พ.ศ. 2560 – 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news
ทิพวรรณ โคตรสีเขียวและดิษฐพล ใจซื่อ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน.วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565; 4(2): 255-269.
นงพิมล นิมิตรอานันท์, วิชุดา กลิ่นหอม, เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ, ชลทิพย์ ทิพย์แก้ว. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการ หกล้มของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน.วารสารพยาบาลทหารบก. 2563; 21(2): 389-399.
ภัณฑิลา ผ่องอำไพ, สุธีรา ฮุ่นตระกูล, ศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ.วารสารแพทย์นาวี. 2561; 45(2): 311-327.
พรรณวรดา สุวัน, ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร, จุฑารัตน์ เสาวพันธ์, สุปรีดา อินทรสงเคราะห์, อัญชลี อ้วนแก้ว, สุภาพักตร์ หาญกล้า. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย ตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุใน ชุมชน.วารสารแพทย์นาวี. 2563; 47(2): 414-431.
McClure R, Nixon J, Spinks A, Turner C. Community-based programmes to prevent falls in children: a systematic review. J Paediatr Child Health. 2005; 41(9-10): 465-70. doi: 10.1111/j.1440-1754.2005.00685.x. PMID: 16150059.
Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai Elderly 2019. Printery Co., Ltd., Puttamonton, Nakorn Pathom. Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2019.
Albasha, N., McCullagh, R., Cornally, N. et al. Staff knowledge, attitudes and confidence levels for fall preventions in older person long-term care facilities: a cross-sectional study. BMC Geriatr. 2023; 23(595). https://doi.org/10.1186/s12877-023-04323-0
Sherrington C, Michaleff ZA, Fairhall N, Paul SS, Tiedemann A, Whitney J, Cumming RG, Herbert RD, Close JCT, Lord SR. Exercise to prevent falls in older adults: an updated systematic review and meta-analysis. Br J Sports Med. 2017; 51(24):1750-1758. doi: 10.1136/bjsports-2016-096547. Epub 2016 Oct 4. PMID: 27707740.
Montero-Odasso MM, Kamkar N, Pieruccini-Faria F, et al. Evaluation of Clinical Practice Guidelines on Fall Prevention and Management for Older Adults: A Systematic Review. JAMA Netw Open. 2021; 4(12): e2138911. doi:10.1001/jamanetworkopen.2021.38911
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว