การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลภาครัฐ จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีน, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลภาครัฐ จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด 40 คน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การวางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา แนวทางปฏิบัติเดิมพร้อมทบทวนแนวทางแก้ไขร่วมกับผู้รับชอบที่เกี่ยวข้อง 2) การปฏิบัติตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ระยะเวลา 6 สัปดาห์ 3) การสังเกตและติดตามผล ประเมินจากข้อมูลเวชระเบียนการรักษาของกลุ่มเป้าหมาย ผลคือการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน หลังนำรูปแบบมาใช้กลุ่มทดลองมีผู้กลับมารักษาซ้ำ 17 คน ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีผู้กลับมารักษาซ้ำ 9 คนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05) และการกลับมาใช้เมทแอมเฟตามีนซ้ำภายใน 6 สัปดาห์หลังนำรูปแบบมาใช้กลุ่มทดลองมีผู้กลับมาใช้เมทแอมเฟตามีนซ้ำ 3 คน ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (5 คน) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05) และ 4) การสะท้อนผลคืนข้อมูลการรักษาแก่หน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การศึกษานี้แนะนำให้ส่งเสริมระบบการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดเชิงรุกเพิ่มแรงจูงใจให้อยู่ในระบบการบำบัด ปรับปรุงการเข้าถึงบริการ ลดการตีตรา และจัดการดูแลแบบเฉพาะบุคคล ควรปรับใช้รูปแบบนี้ในอำเภออื่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ และศึกษาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
References
World Health Organization (WHO). Global status report on substance use: Impact on maternal and child health. Geneva: WHO; 2021.
สถาบันธัญญารักษ์. รายงานการใช้สารเสพติดในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันธัญญารักษ์; 2563.
Abar B, LaGasse LL, Lester BM, Shankaran S, Bada HS, Bauer CR, et al. Neurodevelopmental outcomes in children with prenatal methamphetamine exposure: A prospective study. J Pediatr. 2014;164(6):1337-43.
พิมพ์มาดา พรหมเทพ, สมชาย นาคเงินทอง, และคณะ. ผลกระทบของการใช้แอมเฟตามีนในหญิงตั้งครรภ์ต่อทารกแรกเกิด. วารสารการแพทย์แผนไทย. 2562;6(3):200-10.
Oei JL, Kingsbury A, Dhawan A, Burns L, Feller JM, Clews S, et al. Amphetamines, the pregnant woman and her children: A review. J Perinatol. 2019;39(1):36-44.
Stone R. Pregnant women and substance use: Fear, stigma, and barriers to care. Health Soc Work. 2015;40(1):15-21.
วิชัย สังข์ทอง, ปริญญา ทองย้อย, และคณะ. การพัฒนาระบบคัดกรองสารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิจัยระบบสุขภาพ. 2564;15(2):100-12.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. รายงานสถานการณ์การบำบัดรักษายาเสพติดในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด; 2566.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการดำเนินงานป้องกันและดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด. เพชรบูรณ์: ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์; 2566.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานสถานการณ์การคัดกรองสารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์. เพชรบูรณ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์; 2566.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press; 1990.
วรัญญา ชลธารกัมปนาท, จันทิมา ขนบดีและปราณีป้องเรือ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และทารกแรกเกิดของมารดาครรภ์แรก. ว.วิทยาลัยพยาบาล พระปกเกล้า จันทบุรี2561;29(1):30–41.
อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์ และคณะ. การป้องกันการเสพยาเสพติดซ้ำด้วยตนเอง: กรณีศึกษา ผู้ผ่านการบำบัดรักษาอาการติดสารเสพติดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2565;10(3):345-57.
นัชชา ป้านภูมิ. การพัฒนารูปแบบการดูแลเฉพาะรายในหญิงตั้งครรภ์ที่มีผลตรวจแอมเฟตามีนในปัสสาวะ โรงพยาบาลผาขาว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2567];8(3):42-52. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/267290
พรทิพย์ หอมเพชร, พิศมัย กองทรัพย์, น้องนุช แสนบรรดิษฐ์. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอดที่ใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด การกลับมารักษาซ้ำและการกลับมาเสพซ้ำ ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2566;26(1):12-25
สุพร กาวินำ, กิตติพัฒน์ เอี่ยมรอด และบุณยานุช เดชบริบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการกลับมาเสพยาเสพติดซ้ำหลังการบำบัดในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดจังหวัดตาก. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ปทอง. 2560;23(2):174-86. เข้าถึงได้จาก: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tgt/article/view/103837.
ConceptDraw. PDCA Cycle Examples [Internet]. [cited 2024 Dec 20].
Available from: https://www.conceptdraw.com/mosaic/pdca-cycle-examples
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว