รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
Participation Management, Drug addiction treatment and rehabilitationบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วม จำนวน 40 คน คือ ตัวแทนแกนนำชุมชน และตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาการศึกษา ระหว่างเดือน สิงหาคม-ธันวาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอ้างอิง คือ Paired t-test P-value และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ 1) ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน 2) บูรณาการดำเนินงานในพื้นที่ 3) กิจกรรมการบำบัดบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4) การติดตามช่วยเหลือหลังผ่านการบำบัด กระบวนการพัฒนามี 5 ขั้นตอน คือ 1) สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน 2) วางแผนการดำเนินงานโดยการร่วมตัดสินใจ 3) ร่วมปฏิบัติการบำบัดรักษาฟื้นฟูตามบทบาทหน้าที่ 4) ร่วมติดตามและประเมินผล และ 5) ช่วยเหลือดูแลระยะยาวหลังการบำบัด การบริหารแบบมีส่วนร่วมก่อนการดำเนินงานมีคะแนนเฉลี่ย 3.4 หลังการดำเนินงานเพิ่มเป็น 4.3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า กลุ่มผู้เสพเปลี่ยนเป็นกลุ่มผู้ใช้ ร้อยละ 78.8 ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
References
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด; 2567
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น. จังหวัดขอนแก่นเดินหน้าเจาะพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดแก้ปัญหายาเสพติด ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล [อินเตอร์เน็ต]. ส.ค. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 16 สิงหาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก https://khonkaen.prd.go.th/th/content/category/detail/id/57/iid/313500
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. ระบบบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด(บสต.) กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. ต.ค 2566-ก.ย 2567 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2567]; เข้าถึงได้จาก https://antidrug.moph.go.th/report
ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอพล. รายงานการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ปี 2567.เอกสารอัดสำเนา; 2567.
กรมการแพทย์. แนวทางการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน.2562 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. บริษัท บียอร์น พับลิสซิง จำกัด.2566.
Cohen JM, Uphoff NT. Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press; 1981.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong, Victoria: Deakin University Press; 1988.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. คู่มือการฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดด้วยชุมชนล้อมรักษ(Community-based Treatment; CBTx). พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ; 2567.
จิรภา ศิริบาล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2566.
ประพัทธ์ ธรรมวงศา. การพัฒนรูปแบบการบาบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารสานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567; 2567.
กรรณิกา สหเมธาพัฒน์. รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ในจังหวัดแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก. ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก; 2566.
มงคล ศรีมันตะ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของ ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐ-ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2559.
กรมการแพทย์. แนวทางการคัดกรองการประเมินความรุนแรงการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด. สำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด; 2565.
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวปฏิบัติที่ดี. นนทบุรี. บริษัท เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2562
กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี 2567 [อินเตอร์เน็ต]. ส.ค. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 14 สิงหาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก https://omhc.dmh.go.th/structure/reds22.asp
สำนักเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ (ลคสช.). สาระสำคัญพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 (สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่). คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. มิ.ย. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2567]; เข้าถึงได้จาก https://dmh-elibrary.org/items/show/1658
นิวาส วิรัช. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง สถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2557.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2564 [อินเตอร์เน็ต]. มิ.ย. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2567]; เข้าถึงได้จากhttps://www3.ago.go.th/legald/wp- content/uploads/2022/02/v435-_22_11_-2564.pdf
วนัสญพร โทเวียง. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน/ชุมชน กรณีศึกษา : ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. การประชุม วิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5; 2562.
วลีรัตน์ แสงไชย. กระบวนการบำบัดผู้เสพยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการคืนคน(เคย) ดี สู่การเป็นคนดีอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาภาคเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว