ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะชักซ้ำจากไข้ของผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผู้แต่ง

  • ฐาปนีย์ ด้วงนิล นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฏฐ์ดนัย วีรสรชาติกุล นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นรินทร์ สิงขรณ์ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นัฎฐาภรณ์ พรมโสภา นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สมวรรณ แก้วแสงทองเจริญ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วิภากร ศุภพิมล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

คำสำคัญ:

ภาวะชักจากไข้, ภาวะชักซ้ำจากไข้, ผู้ป่วยเด็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลคุณลักษณะทั่วไปและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กที่เกิดภาวะชักจากไข้ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะชักซ้ำจากไข้ของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเป็นการศึกษาแบบ Retrospective cohort study ในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 60 เดือน ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะชักจากไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2566 และติดตามการเกิดภาวะชักซ้ำจากไข้ภายในระยะเวลา 1 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ Binary logistic regression analysis นำเสนอข้อมูลด้วย Adjusted odds ratio และ 95% CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา ข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป พบว่า ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (52.9%) ลักษณะทางคลินิก พบว่าผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่เกิดภาวะชักจากไข้แบบธรรมดา (83.4%) ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะชักซ้ำจากไข้ของผู้ป่วยเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ และชนิดของภาวะชักจากไข้ โดยเพศชายมีโอกาสเกิดภาวะชักซ้ำจากไข้ได้มากกว่าเพศหญิง 2.46 เท่า (p-value = 0.046, 95% CI = 1.02-5.94) และผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้แบบซับซ้อนมีโอกาสเกิดภาวะชักซ้ำจากไข้ได้มากกว่าผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้แบบธรรมดา 3.37 เท่า (p-value = 0.024, 95% CI = 1.17-9.65) สรุปผลการวิจัยพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะชักซ้ำจากไข้ของผู้ป่วยเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ และชนิดของภาวะชักจากไข้

References

Eilbert W, Chan C. Febrile seizures: A review. J Am Coll Emerg Physicians Open. 2022; 3(4): e12769.

จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์. ภาวะชักจากไข้ในเด็ก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัย บูรพา. 2021; 23(4): 1-14.

Commodari E. Children staying in hospital: research on psychological stress of caregivers. Ital J Pediatr.2010; 36:1-9.

คณิตา อิสระภักดีรัตน์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรกในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่3. 2022; 19(2): 155-67.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ Clinical Practice Guidelines for Epilepsy. 2565; 1: 19-168.

Byeon J-H, Kim G-H, Eun B-L. Prevalence, Incidence, and Recurrence of Febrile Seizures in Korean Children Based on National Registry Data. J Clin Neurol 2017; 14(1): 43-7.

สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักครั้งแรกของโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2016; 13(3): 119-228.

สุรีย์พร ตั้งสกุลวัฒนา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไข้ชักซ้ำและเป็นโรค ลมชักในผู้ป่วยเด็กที่มีไข้ชักครั้งแรกของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2024; 63(2): 105-17.

Kliegman R, Joseph W. Nelson textbook of pediatrics. 21th ed. Philadelphia: Elsevier; 2019.

Kantamalee W, Katanyuwong K, Louthrenoo O. Clinical characteristics of febrile seizures and risk factors of its recurrence in Chiang Mai university hospital. Neurol Asia. 2017; 22: 203-8.

Civan A-B, Ekici A, Havali C, Kiliç N, Bostanci M. Evaluation of the risk factors for recurrence and the development of epilepsy in patients with febrile seizure. Arq Neuropsiquiatr 2022; 80: 779-85.

K-m R, Ranhotra A, Kanodia P, Ahmad S, Gupta V. Evaluation of Febrile Seizures in NGMC And Assessment of Risk Factors for Recurrences. JNGMC.2018; 14(2): 30-33.

Ojha A, Shakya K-N, Aryal U. Recurrence Risk of Febrile Seizures in Children. J Nepal Paediatr Soc. 2012; 32(1): 33-36.

Kim J-M, Park E-G, Lee J-Y, Kim Y-H, Kim Y, Kim H-S, et al. Characteristics of febrile seizures with SARS-CoV-2 infection in the Omicron era. Transl Pediatr. 2023; 12(5): 807-815.

Graves R-C, Oehler K, Tingle L-E. Febrile seizures: risks, evaluation, and prognosis. Am Fam Physician. 2012; 85(2): 149-53.

Shen F, Lu L, Wu Y, Suo G, Zheng Y, Zhong X, et al. Risk factors and predictors of recurrence of febrile seizures in children in Nantong, China: a retrospective cohort study. BMC Pediatr. 2024; 24: 420.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-12

How to Cite

1.
ด้วงนิล ฐ, วีรสรชาติกุล ณ, สิงขรณ์ น, พรมโสภา น, แก้วแสงทองเจริญ ส, ศุภพิมล ว. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะชักซ้ำจากไข้ของผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. JKKPHO [อินเทอร์เน็ต]. 12 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 5 พฤษภาคม 2025];7(1):e273392. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/273392