การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว จังหวัดจันทบุรี: Chan THARAK System

ผู้แต่ง

  • อภิรักษ์ พิศุทธ์อาภรณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • มัณฑนา เหมชะญาติ นักวิชาการอิสระ
  • สดับพินท์ พสุหิรัณย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • ณัจยา เกียรติเกษม โรงพยาบาลมะขาม จังหวัดจันทบุรี
  • สมจิต ยาใจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • ทิพย์วิมล ตั้งชูทวีทัพย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ, ผู้ติดยาเสพติด, ระยะยาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว จังหวัดจันทบุรี การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิและทบทวนระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาวจากโครงการฯ ปี 2566-2567 ด้วยกระบวนการ Focus group ผู้ให้ข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการฯ จำนวน 46 คน ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาวโดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิค Delphi (กระบวนการวิจัยอนาคต) จำนวน 20 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จำนวน 10 คน ผู้ให้ข้อมูล คือ คณะกรรมการยาเสพติดระดับจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านยาเสพติด ผู้บริหารหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต และยาเสพติด พยาบาลสุขภาพจิตและยาเสพติด นักจิตวิทยา โดยการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลลัพธ์จากการศึกษาระยะที่ 1 พบว่าคะแนนคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ฟื้นฟูโดยรวมหลังการเข้าร่วมโครงการ มีคะแนนสูงขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับดีในทุกมิติ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูมีความตั้งใจในการเลิกใช้ยาเสพติด ร้อยละ 67.39 มีความพร้อมในการเลิกใช้ยาในขั้น Stage of Action ร้อยละ 60.87 อัตราการกลับไปเสพซ้ำเมื่อครบระยะติดตามที่ 1 ปี ร้อยละ 15.21 และการพัฒนาระบบฯ จากเทคนิค Delphi (กระบวนการวิจัยอนาคต) พบว่าระบบฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว จังหวัดจันทบุรี “ChanTHARAK System” มี 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) ระบบบริหารจัดการ 2) ระบบการคัดกรองและค้นหา 3) ระบบบำบัดฟื้นฟู 4) ระบบการติดตาม โดยระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ มีการนำไปพัฒนาการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2568 เพื่อยกระดับการฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องต่อไป

References

United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). World drug report 2022. Vienna: UNODC; 2022.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ป.ป.ส.; 2565.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา. 2564;138(123 ก):1-50.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติด. Hfocus. 2564 [เข้าถึงเมื่อ: 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org

กระทรวงสาธารณสุข. แบบรายงาน บสต.. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. รายงานผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี; 2567

Kemmis S, Wilkinson M. Participatory action research and the study of practice. In: Atweh B, Kemmis S, Weeks P, editors. Action research in practice: Partnerships for social justice in education. London: Routledge; 1998. p. 21-36..

Creswell JW, Poth CN. Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches. 4th ed. Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 2018.

Murphy MK, Terry SF. The Delphi method. In: Smith P, editor. Health care decision making: Concepts, methods, and applications. 2nd ed. London: Blackwell; 1998.

Patton MQ. Qualitative evaluation and research methods. 2nd ed. Newbury Park, CA: Sage Publications; 1990.

Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation theory,models & applications. San Fracisco, CA: John Wiley & Sons; 2007

กิตติยา ทองสุข, ประวรีย์ คาศรีสุข, มัตตัญญุตา โสภา. การพัฒนาศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสภาพทางสังคมผู้ป่วยติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดจากสถานพยาบาลก่อนกลับชุมชน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2567;6(4):150-67.

โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยาและสารเสพติดระยะยาวในโรงพยาบาลชุมชนด้วยรูปแบบมินิธัญญารักษ์ (Long Term Residential Care). พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: บริษัท เคทีทีเอ็กซ์ จำกัด; 2566.

Mahidol University. การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM). Available from: https://quality.sc.mahidol.ac.th/plan_and_policy/km/

อัครพล คุรุศาสตรา, จอมขวัญ รุ่งโชติ. การพัฒนาแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2562;15(1):12-19

วิโรจน์ วีรชัย, ประกายรัตน์ ช่วยเจริญ, สำเนา นิลบรรพ์, กุสุมา แสงเดือนฉาย. มาตรฐานการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพรูปแบบชุมชนบำบัดและ FAST MODEL. 2558.

ธนิกา พงษ์พิทักษ์, วัชรี มีศิลป์, สำเนา นิลบรรพ์, ผกามาศ มณีอินทร์, นันทา ชัยพิชิตพันธ์, นิภาวัล บุญทับถม. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหญิงเสพติด. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;26(3):261-273.

Kaewkham N, Leelahanaj T, Yingwiwattanapong J, Rattanasumawong W. The effectiveness of military hospital-based drug treatment program (PMK) when compared with the traditional community-based drug treatment program (FAST). BMC Health Services Research. 2019;19:656.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-25

How to Cite

1.
พิศุทธ์อาภรณ์ อ, เหมชะญาติ ม, พสุหิรัณย์ ส, เกียรติเกษม ณ, ยาใจ ส, ตั้งชูทวีทัพย์ ท. การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว จังหวัดจันทบุรี: Chan THARAK System . JKKPHO [อินเทอร์เน็ต]. 25 กุมภาพันธ์ 2025 [อ้างถึง 5 พฤษภาคม 2025];7(1):e273548. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/273548