การพัฒนารูปแบบการพยาบาลแผลเบาหวานที่เท้าโดยใช้ระบบ การพยาบาลทางไกล โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุรดา โพธิ์ตาทอง โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
  • ปัทมา ล้อพงศ์พานิชย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ภัทรวดี โสมัตนัย โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
  • ทิพวัลย์ สอนโว โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
  • ศรัณยา เพิ่มศิลป์ โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

แผลเบาหวานที่เท้า, ระบบการพยาบาลทางไกล, พัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประยุกต์ใช้แนวทางขององค์กรความร่วมมือเพื่อการปรับปรุงแนวปฏิบัติทางคลินิก วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลรูปแบบการพยาบาลแผลเบาหวานที่เท้าโดยใช้ระบบการพยาบาลทางไกล กลุ่ม ตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้ระบบการพยาบาลทางไกล และ ผู้รับบริการระบบการพยาบาลทางไกล ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกผลลัพธ์การพยาบาลทางไกล แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมการดูแลเท้าในชีวิตประจำวัน และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์รายข้อระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76, 0.83 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพยาบาลแผลเบาหวานที่เท้าโดยใช้ระบบการพยาบาลทางไกล ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อมของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ อุปกรณ์และสื่อการสอนออนไลน์ 2) กระบวนการพยาบาลทางไกล ประกอบด้วย การประเมินผู้รับบริการ วินิจฉัยการพยาบาล วางแผน นำไปปฏิบัติ และกำกับติดตามประเมินผลผ่านรูปภาพและวิดีโอคอล ระยะเวลา 6 ครั้ง 3) ผลลัพธ์ ประเมินจากระดับความรุนแรงของแผล ระยะเวลาหาย และการกลับเป็นซ้ำ ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า ระดับความรุนแรงของแผลลดลง ระยะเวลาหายของบาดแผลเฉลี่ย 5.86 สัปดาห์ (SD 4.24) และ ร้อยละ 7.14 (1 คน) เกิดการกลับเป็นซ้ำ ค่าเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการดูแลเท้าก่อนและหลังเข้ารับบริการการพยาบาลทางไกลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ความพึงพอใจต่อการใช้บริการระบบการพยาบาลทางไกลภาพรวมอยู่ในระดับมาก จะเห็นได้ว่า ระบบการพยาบาลทางไกลช่วยให้ข้อเสนอแนะและกำกับติดตามแผลเบาหวานที่เท้าได้อย่างมีประสิทธิผล

References

Baig MS, Banu A, Zehravi M, Rana R, Burle SS, Khan SL, et al. An Overview of Diabetic Foot Ulcers and Associated Problems with Special Emphasis on Treatments with Antimicrobials. Life. 2022; 12(7): 1–18.

Mc Dermott K, Fang M, Boulton AJM, Selvin E, Hicks CW. Etiology, Epidemiology, and Disparities in the Burden of Diabetic Foot Ulcers. Diabetes Care. 2023; 46(1): 209–21.

Tuttolomondo A, Maida C, Pinto A. Diabetic foot syndrome: Immune-inflammatory features as possible cardiovascular markers in diabetes. World J Orthop. 2015; 6(1): 62–76.

Polikandriot M, Vasilopoulos G, Koutelekos I, Panoutsopoulos G, Gerogianni G, Babatsikou F, et al. Quality of Life in Diabetic Foot Ulcer: Associated Factors and the Impact of Anxiety/Depression and Adherence to Self-Care. Int J Low Extrem Wounds. 2020; 19(2): 165–79.

Jiang P, Li Q, Luo Y, Luo F, Che Q, Lu Z, et al. Current status and progress in research on dressing management for diabetic foot ulcer. Front Endocrinol. 2023; 14:1221705: 1–28.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

ปภาดา มหัทธนะประดิษฐ์, มานพ คณะโต, พูนรัตน์ ลียติกุล. ความรู้ในการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เขตพื้นที่อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2561; 33(6): 520–5.

Nittari G, Ricci G, Savva D, Gibelli F, Bailo P, Ausania F, et al. Telemedicine in diabetic ulcer management: A pilot study with exploration of medico-legal aspects.

Nutr Metab Cardiovasc Dis. 2023; 33:2280–6.

Ju HH, Momin R, Cron S, Jularbal J, Alford J, Johnson C. A Nurse-Led Telehealth Program for Diabetes Foot Care: Feasibility and Usability Study. JMIR Nurs. 2023; 6(e40000).

กรวิชญ์ ศรีประเสริฐ, ศิวพร อึ้งวัฒนา, เดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเบาหวานควบคุมไม่ได้ในชุมชน. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2566.

The ADAPTE Collaboration. The ADAPTE Process: Resource Toolkit for Guideline

Adaptation. [Internet]. 2009 [cited 15 April 2024]; Available from: http://www.g-i-n.net

ดวงฤดี ลาศุขะ. การปรับปรุงแนวปฏิบัติทางคลินิก: แนวทางและขั้นตอน. พยาบาลสาร. 2556; 40 (ฉบับพิเศษ): 97-104.

DeLone WH, McLean ER. The DeLone and McLean model of information systems success: A ten-year update. Journal of Management Information Systems. 2003; 19(4): 9-30.

Houwelingen CTM van, Moerman AH, Ettema RGA, Kort HSM, Cate O Ten. Competencies required for nursing telehealth activities: A Delphi-study. Nurse Educ Today. 2016; 39:50–62.

ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง แนวทางการพยาบาลทางไกล (Tele-nursing). (2564, 10 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 33 ง. หน้า 49 – 51.

ปิยพร ปิยะจันทร์. บริการการแพทย์ทางไกล ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2567]; [เข้าถึงได้จาก 17 เมษายน 2567] : https://bdh.moph.go.th/site/wp-content/uploads/2023/08/3.1.3-telemedicine.pdf

วิริยภรณ์ สิงห์ทองวรรณ, สุพัตรา ปวนไฝ. ผลของการพยาบาลทางไกลต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายกลับบ้าน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2566; 29(1): 43–57.

Hazenberg CEVB, Stegge WB aan de, Baal SG Van, Moll FL, Bus SA. Telehealth and telemedicine applications for the diabetic foot: A systematic review. Diabetes Metab Res Rev. 2020;36(e3247).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-01

How to Cite

1.
โพธิ์ตาทอง ส, ล้อพงศ์พานิชย์ ป, โสมัตนัย ภ, สอนโว ท, เพิ่มศิลป์ ศ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลแผลเบาหวานที่เท้าโดยใช้ระบบ การพยาบาลทางไกล โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. JKKPHO [อินเทอร์เน็ต]. 1 เมษายน 2025 [อ้างถึง 5 พฤษภาคม 2025];7(1):e273985. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/273985