การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
วัณโรคปอด , ผลการรักษา, พฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษานี้ศึกษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่พบเชื้อในเสมหะรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแผนการรักษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาลเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนารูปแบบในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชน โดยคัดเลือกผู้ป่วยวัณโรคปอด 2 รายแบบเจาะจง ที่แตกต่างกันทั้งเพศ อายุ พฤติกรรมสุขภาพ อาการและอาการแสดงที่มาโรงพยาบาล แต่มีผลการตรวจ AFB Positive และวินิจฉัย : Tuberculosis of lung เหมือนกัน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 21 กุมภาพันธ์ 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย การสังเกต และการทบทวนเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ แบบแผนสุขภาพ แผนการรักษาของแพทย์ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 เพศหญิง อายุ 85 ปี มาโรงพยาบาลโดยไม่มีอาการและอาการแสดง ผลการรักษาเป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์ไม่มีภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษารายที่ 2 เพศชาย อายุ 50 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการไข้ ไอ น้ำหนักลด ระหว่างการรักษาไม่เลิกดื่มสุรา สูบบุหรี่ ขาดยาต้องปรับแผนการรักษาแบบวัณโรคดื้อยาใช้เวลารักษายาวนานขึ้น ผลการเปรียบเทียบทั้ง 2 รายนี้ มีปัญหาทางการพยาบาลและความยากของการปฏิบัติการพยาบาลที่แตกต่างกัน พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การประเมินภาวะสุขภาพ การวางแผน การให้การพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ และนำผลการดำเนินงานดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยต่อไป
References
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ.2556.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7. สถานการณ์วัณโรคในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7.[อินเทอร์เน็ต] เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567].เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/odpc7/news.php?news
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการให้การปรึกษาในงานวัณโรคและวัณโรคดื้อยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2561.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคในไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. หน่วยเภสัชสนเทศและบริการสังคมเพื่อการศึกษาการแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service Plan. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2561.
กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองวัณโรค กรมควบคุมโรค.สถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567. [อินเทอร์เน็ต] เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567].เข้าถึงได้จาก https://www.tbthailand.org (2567, กุมภาพันธ์ 1).
Gordon M. Nursing diagnosis: process and application. 3rd ed. St. Louis: Mosby; 1994.
วิศณุ นันทัยเกื้อกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยด้วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับบริการที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น.2564; 28(2): 56-60.
นงณภัทร รุ่งเนย. การประเมินสุขภาพแบบองค์รวม (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก; 2560.
Orem DE. Nursing: concepts of practice. 5th ed. St. Louis: Mosby; 1995.
ประเทือง ธราธรรุ่งเรือง. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด ในงานบริการผู้ป่วยนอก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2561;1(2):1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว