ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพ เครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขของบุคลากร, เครือข่ายบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการสำรวจแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional survey research)โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพ เครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่บ่งชี้ภาวะอ้วนลงพุงกับระดับความสุขของบุคลากรในองค์กร โดยสำรวจระหว่างวันที่ 20 ถึง 30 เมษายน 2561 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนทั้งหมด 190 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม HAPPINOMETER ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi- square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 20 - 39 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า สถานภาพสมรส หรือ/และอยู่ร่วมกัน มีบุตรอย่างน้อย 1 คน ลักษณะงานที่ไม่ใช้ใบประกอบวิชาชีพ สถานภาพการจ้างงาน รับราชการ /ลูกจ้างประจำ ระยะเวลาที่ทำงานในองค์การน้อยกว่า 10 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความสุขภาพรวม 62.03 คะแนน แปลผลว่า “มีความสุข” เป็นระดับความสุขตามเป้าหมาย เมื่อพิจารณารายมิติพบว่า มิติความสุขทั้งหมดอยู่ในระดับ “มีความสุข” มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในมิติจิตวิญญาณดี ที่ 68.22 คะแนน และต่ำสุดในมิติผ่อนคลายดี ที่ 54.19 คะแนน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส การมีบุตร ลักษณะงาน สถานภาพการจ้างงาน และระยะเวลาในการทำงานในองค์การ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุข สำหรับปัจจัยบ่งชี้อ้วนลงพุง ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขของบุคลากร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กัลยารัตน์ อ๋องคณา. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการรับรู้คุณค่าในตนเองสภาพแวดล้อมในงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
จุติพร ผลเกิด. แนวคิดความอ้วนและการจัดการของคนไทย. ในระบบสุขภาพภาคประชาชน กับความเจ็บป่วยเรื้อรัง: สถานะความรู้และทิศทางการวิจัย . สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสหพัฒนไพศาล; 2553.
นฤมล แสวงผล. ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.
นิศากร ชุติมันต์กุลดิลก. ความสุขในการทำงานของพนักงาน กองการผลิต 1 โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
เนตรสวรรค์ จินตนาวลี. ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล จังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.
บุญจง ชวศิริวงศ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทางานของบุคลากร ที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.
เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์. ระบบสุขภาพภาคประชาชนกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง; สถานะความรู้และทิศทางการวิจัย. สา นักงานวิจัยและพัฒนาสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหพัฒนไพศาล; 2553.
มณีรัตน์ ภาคธูป. ความอ้วนกับปัญหาที่ตามมา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2545; 1 : 39-43.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส; 2555.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส; 2556.
ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล. รายงานประจำปี 2558. สานักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค; 2559.
สุภาวดี ลิขิตมาศกุล และจันทราภรณ์ เคียมเส็ง. โรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่น: ผลกระทบและเคล็ดลับการป้องกัน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2554.
สุรัตน์ โคมินทร์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุง และภาวะแทรกซ้อนชองประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2561] . เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4347?locale-attribute=th
อมฤต จิรเศรษฐสิริ และอาจารย์ นพ.ไกรสร อัมมวรรธน์. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุขของบุคลากร โรงพยาบาลปากเกร็ด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2557; 2 : 118-24.
Kathleen MZ. How Accurate Is Body Mass Index, or BMI?. WebMD Weight Loss Clinic-Feature. Retrieved October 26, 2017, from http://www.webmd.com/diet/features/how-accurate-body-massindex-bmi;2007.
Marina SK. Obesity and Happiness. UAE: United Arab Emirates University; 2011.
Stice E, Spoor S, Bohon C & Small DM. Relation between obesity and blunted striatal response to food is moderated by TaqIA A1 allele. [online]. (2017). [Retrieved October 26, 2017]. from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2681095/;2008.
Warr, P. The Measurement of Well-Being And Other Aspects of Mental Health. Journal of Occupation Psychology 63; 193(210) : 1190.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว