การปฏิบัติพัฒนกิจและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา มหิทธานุภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พัฒนกิจ, ความผาสุกทางใจ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ระดับการปฏิบัติพัฒนกิจและระดับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ศึกษาเปรียบเทียบความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุตามปัจจัยส่วนบุคคล ศีกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การปฏิบัติพัฒนกิจกับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ปี 2561 จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณา ค่า t – test ค่า F – test Least Significant Difference และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01

ผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติพัฒนกิจอยู่ในระดับสูง เมื่อจำแนกตามสภาวะสุขภาพ ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิกชมรม และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความผาสุกทางใจแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ การปฏิบัติพัฒนกิจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกทางใจ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

สรุปการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง การสนับสนุนการศึกษา การจัดกิจกรรมชมรมที่เหมาะสม และจัดสรรรายได้อย่าพอเพียง ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความผาสุกทางใจเพิ่มขึ้น และการสนับสนุนการปฏิบัติพัฒนกิจ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความผาสุกทางใจเพิ่มขึ้น

References

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้: แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2550.

งานแผนงานและยุทธศาสตร์. ทะเบียนข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2555 . สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังน้ำเขียว; 2555.

ชุติไกร ตันติชัยวนิช. ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดระยอง [ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551

บรรลุ ศิริพานิช. ผู้สูงอายุไทย. วารสารหมอชาวบ้าน 2549; 7 - 9.

ยุพิน อังสุโรจน์ จันทร์เพ็ญ และคณะ. การศึกษาความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุไทย. วารสารการพยาบาล 2544; 50 (2): 132 – 142.

วันทนี ขำเพ็ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชนบท จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล; 2540

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล และคณะ. ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ; 2542.

สุรินทร์ นิยมางกูร. สถิติวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2548.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. การเกื้อหนุนทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

สมบุญ ยมนา. ป ระชากรวัยกลางคน: การเตรียมความพร้อมเพื่อวัยผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในสังคมผู้สูงอายุใน 10-20 ปีข้างหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุ งเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2551.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปสถานการณ์สังคมไทย พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร; 2550.

Garatachea N, and et. al. Feelings of well being in elderly people: relationship to physical activit and physical function. Arch Gerontol Geriatr 2007; 306 - 312.

Graney, M. J. happiness and social participation in aging. Journal of Gerontology 1975; 30 (6): 701-706.

Havighurst, R. J. Human Development and Education. 5ed. New York: Longman, Green; 1957.

McDowell, I.,&Newell, C. Measing Health: a guide to rating scales and questionnaires.(3ed) New York: Oxford University Press; 2006.

Neugarten, B.L., Havighurst, R.J.,& Tobin S. S. The measurement of life satisfaction. Journal of Gerontology 196; 6: 134-143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29