การจัดการจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนชุมชนเขตเมือง: กรณีศึกษาชุมชนโคราชคฤหาสน์ทอง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ภูวดล พลศรีประดิษฐ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • มะลิ โพธิพิมพ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการจุดเสี่ยง, อุบัติเหตุทางถนน, ชุมชน, เขตเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนเขตเมือง กรณีศึกษาชุมชนโคราชคฤหาสน์ทอง ภายใต้ 2 กระบวนการหลัก คือ (1) กระบวนการค้นหาปัญหา (2) กระบวนการจัดการจุดเสี่ยง ซึ่งได้กำหนดเครื่องมือที่สำคัญ อาทิ แบบสำรวจจุดเสี่ยงในชุมชน แบบบันทึกการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน การประชาคม การประชุมกลุ่มย่อย การสนทนากลุ่ม เป็นต้น

ผลการศึกษาพบว่า จุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมีทั้งหมด 7 ลักษณะ คือ ถนนที่มีผิวถนนไม่เรียบ, ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ, เป็นทางสี่แยก, เป็นทางสามแยก, ถนนมีสิ่งบดบังวิสัยทัศน์, ถนนมีจุดมุมมืด แสงสว่างน้อย, และถนนที่มีลักษณะเป็นทางโค้ง โดยเป็นจุดเสี่ยงที่ชุมชนจัดการได้เอง และต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยจุดเสี่ยงที่ชุมชนสามารถจัดการได้เอง ชุมชนได้ดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนลักษณะถนนที่ชุมชนไม่สามารถจัดการเองได้ ชุมชนได้ส่งต่อข้อมูลและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ การจัดการจุดเสี่ยงเกิดจากการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน การเสริมพลังชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการจุดเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การวิจัยครั้งนี้จึงชี้ให้เห็นว่าในระดับหน่วยงานที่ต้องนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของชุมชนถือเป็นจุดสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและสามารถการป้องกันและลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้ยั่งยืน

References

ธีรยุทธ์ ลีโคตร และคณะ. บทบาทของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษาบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. การเมืองการปกครอง 2558; 5(2) มีนาคม – สิงหาคม 2558: 112-129.

ปิยสกล สกลสัตยาทร. การปฏิรูประบบสาธารณสุข (MOPH 4.0) กระทรวงสาธารณสุข (ประกอบการบรรยาย วันที่ 5 มิถุนายน 2560); 2560.

วิชุดา เสถียรนาม และคณะ. คู่มือจัดการจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชน (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนและมูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย; 2559.

โสภณ เมฆธน. ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข กับการขับเคลื่อนประเทศไทย(เอกสารประกอบการประชุม). [ออนไลน์]. (2560) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก http://182.52.57.71bcph/statics/attach/Strategic-Health-Ministry-With-the-Powered-Thailand270160.pdf.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. แนวทางสำหรับผู้ขอรับรองเป็นทีมป้องกันการบาดเจ็บทางถนน (RTI team) เขตสุขภาพที่ 9. อุบลราชธานี: โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง; 2559.

อรทัย ก๊กผล. คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสาหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์; 2552.

World Health Organization. Global Status Report on Road Safety 2015: Supporting a decade of action. Switzerland; 2015.

World Health Organization. Health Promotion and Community Participation. [Online]. (2017) [Available : 31 January 2017]. From: http://www.who.int/water_sanitation_health/hygiene/emergencies/em2002chap15.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29