แนวทางการส่งเสริมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รุจิวรรณ สอนสมภาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริมภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ความรู้ ความพึงพอใจและความต้องการ พร้อมทั้งแสวงหาแนวทางการส่งเสริมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมาดำเนินการเก็บข้อมูลด้วย แบบคัดกรอง แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุทั่วไป จำนวน 406 คน ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อตอบแบบสอบถาม จำนวน 150 คน และผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 16 คน สนทนากลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำแนวทางส่งเสริมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมาไปปฏิบัติ จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อค้นพบ

ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 60 – 65 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้อยู่ระหว่าง 15,001 – 20,000 บาท เมื่อคัดกรองผู้สูงอายุด้วย 2Q ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เป็นผู้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า และเมื่อคัดกรองด้วย 9Q ผู้สูงอายุมีอาการของโรคซึมเศร้าระดับน้อย และคัดกรองด้วย 8Q ผู้สูงอายุไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายในปัจจุบัน (2) ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการ โดยภาพรวมผู้สูงอายุมีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับปานกลาง และมีความต้องการโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับต้องการมากที่สุด (3) แนวทางการส่งเสริมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ คือ (3.1) สถานพยาบาล ได้แก่ การให้ การปรึกษา การให้ความรู้ การรักษา (3.2) ครอบครัว ได้แก่ การรับฟังปัญหาหรือความคิดเห็นของผู้สูงอายุ ดูแลอย่างใกล้ชิด สังเกตพฤติกรรมของผู้สูงอายุ (3.3) ผู้สูงอายุ ได้แก่ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แนวทางฯ ดังกล่าวผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนำไปใช้งานได้จริง และเมื่อนำแนวทางฯ ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ผู้สูงอายุมีความเห็นว่า แนวทางฯ สามารถใช้งานได้จริง เพราะผู้สูงอายุมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรปรับปรุงแนวทางฯ อย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์; 2557.

ปราโมทย์ ปราสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุ แนวโน้ม และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 8 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://hp.anamai.moph.go.th/download/ผู้สูงอายุ/Meeting10_13Dec.2556/12.Dec.2556/3.สถานการณ์ผู้สูงอายุ.ศ.ดร.ปราโมทย์.pdf

ณัฐฐิตา เพชรประไพ. การสำรวจภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร 2558; 33(1) มกราคม – กุมภาพันธ์ 2558: 21 – 30.

นภา พวงรอด. การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี .วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559; 2(1): 63-74.

บุษราคัม จิตอารีย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์และคณะ. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเมือง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2556; 6(1): 27-37.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

รวิพรรดิ พลูลาภ. ภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย ความเครียด และการจัดการความเครียดของประชาชนในชุมชนน้ำจา และชุมชนบ้านเด่น ตำบลเมืองพาน อำเภอเมืองพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2560. 6(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2560: 72 – 85.

วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. การพยาบาลผู้สูงอายุ: ความท้าทายกับประชากรผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2552.

สรร กลิ่นวิชิต และคณะ. การประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. บูรพาเวชสาร 2558; 2(1) มกราคม-มิถุนายน 2558: 21-33.

สายพิณ ยอดกุล และจิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2555; 30(3): 50-57.

สุวิทย์ เจริญศักด์ิ. การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 8 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก : http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news3_9.php?m=4

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สถิติประชาการ. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก : http://www.bora.dopa.go.Th/index.php/th/

อภิญญา วงค์ใหม่. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าและแนวทางการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.

อรสา ใยยอง และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย . ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554; 56(2): 117-28.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey- Bass; 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29