ศึกษาการควบคุมป้องก้นโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การควบคุมป้องก้นโรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาระคับความรู้ ทัศนคติ การปฎิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและตัวแทนชมรมแม่บ้าน ตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การศึกษาครั้งนี้พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพบว่าส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี มีสถานภาพสมรส ระคับการศึกษาจบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่มีรายได้ต่อปี 50,001 บาท ขึ้นไป การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากหอกระจายข่าว มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับดี พบว่า ในเรื่องการป้องกันและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จะสำเร็จได้ทุกหลังคาเรือนจะต้องช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะธุ์ยุง กลุ่มเป้าหมายตอบถูก ร้อยละ 100 ซึ่งมีความรู้ในระดับต่ำ ในเรื่องผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่มีอาการเบื่ออาหารและรับประทานอาหารได้น้อย ควรให้ดื่มน้ำเยอะๆเพื่อป้องกันอาการช็อคและด้านการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก เพราะจะมีผลต่อเม็ดเลือดแดงได้ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยพบแพทย์ ด้านทัศนคติต่อโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ในเรื่องเด็กที่ถูกยุงกัดในเวลากลางวัน มีโอกาสป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกด้านทัศนคติที่ต่ำ ในเรื่องโรคไข้เลือดออกเป็นกับเด็กเท่านั้นผู้ใหญ่ไม่เป็นเพราะว่ามีภูมิต้านทานและผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ และด้านการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่อยู่ในระคับดี ในเรื่องท่านติดตามข่าวสารเรื่องโรคไข้เลือด เมื่อมีการออกข่าวทางหอกระจายข่าว ด้านการปฏิบัติตนที่ยังปฏิบัติได้น้อยในเรื่อง ท่านไม่ใช้สารเคมีกำจัดยุง เช่น ยาทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุงเนื่องจากเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
จากการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าประชาชน ยังขาดความรู้เรื่องความเข้าใจต่อโรคไข้เลือดออกในด้านการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง จึงควรมีการศึกษาการพัฒนาแกนนำชุมชนในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย การให้ความรู้ สาเหตุของการเกิดโรค ลักษณะอาการของโรค การรักษาโรค หลักการปฏิบัติตัวเมื่อป่วยและการป้องกันการเกิดโรค โดยให้ทุกคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมรับทราบแนวทางการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองจนมีความเข้มแข็งเกิดขึ้นในชุมชนและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องเป็นแนวทางในการดำเนินงานการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อความยั่งยืนต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานควบคุมโรคติดต่อ, กรมควบคุมโรคติดต่อ. คู่มือโรคไข้เลือดออกสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ : นิวธรรมดาการพิมพ์; 2542.
ประกอบ ศรศิริ. ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านทัพไทย ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2545.
ปิยะ เสดพันธ์. ความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชนตำบลสร้างนกทา อำเภอเมือง จังหวัดอานาจเจริญ [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตร์]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2545.
ภูเบศวร์ วิชัยโย.(2546).ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติในการปีองกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชนตำบลหนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2546.
สุดาพร สาโพนวัน . ความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำสาธารณสุขประจำครอบครัว บ้านโนนตูม ตำบลโนนตูม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2548.
สมทรง ทุ่มประเสริฐ. พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดปทุมธานี [ปริญญาหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตวิชาเอกสุขศึกษา]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2544.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. คู่มือการสร้างสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครราชสีมา.นครราชสีมา : ประสานการพิมพ์; 2548.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว