ปัญหาทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน

ผู้แต่ง

  • ปณิธาน สนพะเนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตบลโพนสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
  • คงเดช กล้าผจญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, เด็กติดขวดนม

บทคัดย่อ

เด็กก่อนวัยเรียนเป็นกลุ่มช่วงอายุที่มีความสำคัญในการดูแลทันตสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น อีกทั้งเด็กกลุ่มนี้เป็นวัยที่อาจมีปัญหาโรคในช่องปากตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือโรคฟันผุ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการที่เด็กแปรงฟันไม่สะอาด การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีความเหมาะสม รวมทั้งพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองที่ไม่เอื้อต่อทันตสุขภาพที่ดี ดังนั้นใน การป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนนี้ควรเริ่มแก้ไขที่ต้นเหตุสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองที่ดูแลเด็กใกล้ชิดด้านทันตสุขภาพโดยตรง โดยควรเลือกให้เด็กรับประทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ หลีกเลี่ยงขนมหวาน เหนียว ติดฟัน เครื่องดื่มจำพวกรสหวานหรือน้ำอัดลม ผู้ปกครองควรฝึกหัดให้เด็กดื่มนมจากแก้วแทน การดูดขวดนม ควรแปรงฟันด้วยวิธีถูไปมา โดยมีการตรวจดูความสะอาดซ้ำอีกรอบหลังจากให้เด็กแปรงด้วยตนเอง รวมทั้งพาเด็กไปพบทันตบุคลากรเพื่อตรวจประเมินช่องปากอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และควรมีการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ส่งผลดีต่อทันตสุขภาพให้มากที่สุด เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักษาความสะอาดในช่องปากตั้งแต่วัยนี้

References

กรมอนามัย. ข่าวแจก “กรมอนามัยชี้ยาสีฟันกลิ่นหอม สีสวย จูงใจเด็กกลืนขณะแปรง แนะพ่อ แม่คุมเข้ม”. [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=6775.

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับงานทันตสาธารณสุข พ.ศ. 2551. [ออนไลน์]. (2551). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http//www.anamai.ecgates.com/news/download_all.php.

กาธร พราหมณ์โสภี. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนอินเทอร์เน็ต รายวิชา พ 31101 สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.snr.ac.th/elearning/kamtorn/profile.html.

จุไรรัตน์ คุณะไชยโชติ. ปัจจัยของพ่อแม่กับการเกิดฟันผุในเด็กเล็ก. วารสารทันตแพทย์ศาสตร์ 2548, 52(5) : 306–312.

ปัณณ์พัฒน์ จันทร์สว่าง. เด็กติดขวดนม (bottle weaning). [ออนไลน์]. (2556). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://taamkru.com/th/%25.

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ผลเสียจากการดูดนมจากขวดนม . [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.dentakids.net/knowledge/.

สมนึก ชาญด้วยกิจ, สุนีย ์วงศ์คงคาเทพ ขนิษฐ์ รัตนรังสิมาและอังศณา ฤทธ์ิอยู่. อิทธิพลพฤติกรรมการบริโภคเด็กไทยอายุ 6-30 เดือน ต่อการเกิดฟันผุ. ม.ป.พ. : กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2547.

สายรุ้ง วงศ์ศิริ. พฤติกรรมการช่วยดูแลทันตสุขภาพบุตรของมารดาที่มีผลต่อภาวะฟันผุในเด็ก อายุ 5 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา สา นักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.

สุมัทนา กลางคาร. อนามัยครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : สารคามการพิมพ์-สารคามเปอร์; 2558.

สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เด็กติดขวดนม. [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/26469-.

Gray K Beauchamp Julie A and Mennella. Sensitive Periods in the Development of the Human Flavor Perception and Preference (56th ed.). Annales Nestle; 1998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31