ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากร ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาระดับความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความอยู่ดีมีสุขและผูกพันของบุคลากร โดยประชากรเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานสาธารณสุข 164 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการวินิจฉัยความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากรของสมาคม การจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอย เชิงเส้นแบบพหุ
ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรตอบกลับแบบสำรวจทั้งสิ้น ร้อยละ 81.1 (133/164) ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง (ร้อยละ 69.9) อายุ 26 – 35 ปี (ร้อยละ 37.6) จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ร้อยละ 67.7) ทำงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1 – 5 ปี (ร้อยละ 29.3) เป็นข้าราชการ (ร้อยละ 58.6) เป็นสายวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ร้อยละ 36.1) ทำงานในสายวิชาชีพนี้มากกว่า 20 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 30.0) ภาพรวมคะแนนความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากร อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 75.9) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ได้แก่ สภาพการทำงาน (p-value = 0.044) ความชัดเจนในหน้าที่รับผิดชอบ (p-value = 0.008) และความเป็นปัจเจกนิยม (p-value = 0.047) และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่องค์การควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ ค่าตอบแทนจากการทำงาน สวัสดิการและการสื่อสารภายในองค์กรดังนั้น องค์การควรตอบสนองความต้องการของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายตามกลุ่มบุคลากรเพื่อให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจและอยู่กับองค์การต่อไปรวมถึงกระตุ้นจูงใจในการทำงานอย่างเต็มความสามารถอันเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์การ
References
จิรประภา อัครบวร และคณะ. Emo-meter (employee engagement on meter) เครื่องมือการวินิจฉัยความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากร.วารสารปัญญาภิวัฒน์ 2557; 5 :194 – 203.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน . ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2539.
พิชญา วัฒนรังสรรค์. การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์ [การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย.์ กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร; 2554.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ยุทธศาสตร์. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.bro.moph.go.th/html/new55/map/indexmap.php
อรสุดา ดุสิตรัตนกุล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษาเฉพาะกรณีของบุคลากรส่วนกลาง [การค้นคว้าอิสระศิลปศาสาตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว