การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่ตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค, รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัญหา พัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยมุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่ตำบลกุดตาเพชร และทำการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ยังไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ และสมัครใจ ยินยอมให้ความร่วมมือตลอดการวิจัย จำนวน 70 คน รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ใช้ 1) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล 2)การอบรมแบบฐานการเรียนรู้ 3) การจัดตั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค และแบบทดสอบความรู้
ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะรสอาหารที่กลุ่มตัวอย่างชอบกินมีรสเค็มสูงที่สุดจำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 54.31 ค่าคะแนนเฉลี่ยจากแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค 15 ข้อ ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภค คะแนนเต็ม 45คะแนน กลุ่มตัวอย่างได้คะแนนเฉลี่ย 26.63 (S.D. 5.42) และ 35.74 (S.D. 3.36 ) พบว่าเมื่อกลุ่มตัวอย่างได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความดันโลหิตขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ ปัจจัย จึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงรักษาไว้ซึ่งพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
References
กองสุขศึกษา. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. ม.ป.ท.; 2558.
กองสุขศึกษา. สร้างการเรียนรู้สร้างสุขภาพ บทเรียนจากชุมชน. ม.ป.ท.; 2560.
ปฐญาภรณ์ ลำลุน. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ [วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาสุขศึกษา]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ; 2554.
ภัทรธิรา ผลงาม. การเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.tuct.ac.th/km/article/stat_1.pdf
ภัสพร ขำวิชา เพ็ญ ศิริสันตโยภาส ภัทร์ธนิตา ศรีแสง และกาญนา กิริยางาม. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในชุมชนซอยโจ๊กเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์ 2557; 21(2) เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม : 83 – 96.
วิชาญ พานิชย์. เพื่อนช่วยเพื่อน.[ออนไลน์]. (ม.ป.ป.). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 7 เมษายน 2560].เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/2415.
สุวรรณา เชียงขุนทด. ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนภาษีเจริญ การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ: กรณีนาร่องเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม; 2556.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554 – 2563. ม.ป.ท.; 2554.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบโรคกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือบูรณาการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
เอกพล บุญช่วยชู. ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.dtc.ac.th/2016/images/journal/July-Dec/11.pdf
World Health Organization. The World Health Report 1998 Life in The 21 Century a Vision for All. Geneva. [online]. (1998). [cited 2017 April 16] Available from: https://www.who.int/whr/1998/en/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว