การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อุ่นเรือน ศิรินาค โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (descriptive cross-sectional study เพื่อศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของหน่วยงานในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561 โดยศึกษาจากบันทึกการจัดเก็บมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 24 หน่วยงาน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการปฏิบัติงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากพนักงานทำความสะอาด จำนวน 25 คน

ผลการวิจัย พบว่า หน่วยงานที่มีมูลฝอยติดเชื้อมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ หอผู้ป่วยหนักและวิกฤติ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง และห้องคลอด จำนวน 5,744 5,241 5,155 4,777 และ 4,720 กิโลกรัม ตามลำดับ หน่วยงานที่พบว่ามีขยะติดเชื้อน้อยที่สุด ได้แก่ เภสัชกรรม และห้องประชุม จำนวน 29 กิโลกรัม อัตราการเกิดขยะติดเชื้อ เท่ากับ 0.70 กิโลกรัมต่อเตียงต่อวัน ประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานทำความสะอาด พบว่า พนักงานที่ปฏิบัติงานน้อยกว่า 1 ปี ไม่เคยได้รับความรู้ ทำให้การปฏิบัติไม่ถูกต้อง และพนักงานที่ปฏิบัติงาน 1 ปีขึ้นไป เคยได้รับความรู้ จึงปฏิบัติงานตามขั้นตอนการเคลื่อนย้าย การรวบรวมขยะติดเชื้อ ตลอดจนการป้องกันตนเอง ได้ถูกต้อง ปัญหาที่พบ การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ ณ แหล่งกำเนิดแยกผิดชนิด ภาชนะรองรับขยะที่หน่วยงานไม่เพียงพอ และระยะทางในการขนย้ายขยะติดเชื้อไปยังโรงพักขยะค่อนข้างไกล นอกจากนี้ การประเมินคุณภาพทั้ง 7 ด้าน ถูกต้อง ผลการศึกษาครั้งนี้จะนำข้อมูลไปพัฒนาระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากปริมาณขยะที่จะตามมาและสามารถนำความรู้ไปอธิบายให้กับประชาชนและผู้มาใช้บริการในโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

References

กิตติ ผลทับทิม.สถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานีอนามัยพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

จอม จันทร์ นทีวัฒนา . ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในสถานพยาบาลของรัฐ.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(3) : 47 – 5.

ปิยชาติ ศิลปสุวรรณ. บทความวิชาการ ขยะมูลฝอยชุมชนปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ. [ออนไลน์] . (ม.ป.ป.). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2561].เข้าถึงได้จาก http://www.nrei.rmutsv.ac.th/.../บทความวิชาการขยะมูลฝอยชุมชนปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ.

พูนพนิต โอ่เอี่ยม. พฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากร และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร.วารสารวิทยบริการ 2556; 42(4): 126 – 134.

ศมกานต์ ทองเกลี้ยง. สถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลในพื้นที่เขตนครชัยบุรินทร์. [ออนไลน์]. (2556). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้ จาก http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1418960782.pdf

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.ข้อมูลปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_56/.

อนิณ อรุณเรืองสวัสด์ิ.ขยะกำลังจะล้นโลกตอนที่1. [ออนไลน์] .(ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https://progreencenter.org/2016/02/22ขยะกำลังจะล้นโลกตอนที่1.

อัมพร รัตนปริญญา. ประสิทธิผลของการจัดการมูลฝอย ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น.ขอนแก่นเวชสาร 2549; 31(3): 276 – 285.

Akbar Eslami, Parviz Nowrous, Samira Sheikholeslami . Status and Challenges of Medical Waste Management in Hospitals of Iran. [online]. (2017). [Retrieved August 20,2018]. From http://civiljiournal.org/index.php/cej/articleveiw/446.

Dasimah Omar, Siti Nurshahida Nazli, Subramaniam A/L Karuppannan. Clinical Waste Management in District Hospitals of Tumpat, Batu Pahat and Taiping. [online]. 2017 [Retrieved August 20, 2018]. From https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042812056960

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31