พฤติกรรมการเลี้ยงดูวัยรุ่นของผู้ปกครอง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย เอกสันติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พัชรินทร์ ยุพา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเลี้ยงดูวัยรุ่น, วัยรุ่น, ผู้ปกครอง, การตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดูวัยรุ่นของผู้ปกครองเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สำรวจจากผู้ปกครองวัยรุ่น อายุ 10 – 19 ปี จำนวน 111 ครอบครัว ใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเลี้ยงดู 4 ด้าน คือ ด้านการติดตามผลการเรียน ด้านการอบรมสั่งสอน ด้านการสื่อสารกับวัยรุ่น และด้านการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด

ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการเลี้ยงดูวัยรุ่นของผู้ปกครองเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ด้านการติดตามผลการเรียน ข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ การรับฟังปัญหาในการเรียน (gif.latex?\bar{X}=2.65) ต่ำสุดคือ มักอนุญาตให้ไปทำรายงานบ้านเพื่อนตอนเย็น (gif.latex?\bar{X}=1.50) ด้านการอบรมสั่งสอนวัยรุ่นหญิง เรื่องที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การเคารพพ่อแม่และผู้ใหญ่ และการมีน้ำใจต่อผู้อื่น (gif.latex?\bar{X}=2.88) ต่ำสุด คือ การไม่ไปค้างคืนนอกบ้าน (gif.latex?\bar{X}=2.61) ด้านการอบรมสั่งสอนวัยรุ่นชาย เรื่องที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การเคารพพ่อแม่และผู้ใหญ่ (gif.latex?\bar{X}=2.72) ต่ำสุด คือ การไม่เที่ยวเตร่ในสถานเริงรมย์ (gif.latex?\bar{X}=2.42) ด้านการสื่อสารกับวัยรุ่น เรื่องที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (gif.latex?\bar{X}=2.59) ต่ำสุด คือ ไม่ใช้คำพูดรุนแรง (gif.latex?\bar{X}=1.96) ด้านการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ควบคุมไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน (gif.latex?\bar{X}=2.81) ต่ำสุด คือ ไม่อนุญาตให้ไปค้างคืนบ้านเพื่อน (gif.latex?\bar{X}=2.46)

สรุปพฤติกรรมการเลี้ยงดูวัยรุ่นของผู้ปกครองในเรื่องที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำ คือ การใช้คำพูดรุนแรง และการไม่เข้มงวดเรื่องการเที่ยวเตร่ในสถานเริงรมย์ และการอนุญาตให้ไปทำรายงานบ้านเพื่อนตอนเย็น ซึ่งผู้ปกครองควรได้รับการพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องเพศกับวัยรุ่น เพราะสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งจะส่งผลต่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยคณะผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการวางแผนการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการต่อไป

References

นิธิรัตน์ บุญตานนท์.หยุดการตั้งครรภ์วัยรุ่นเรื่องยากที่ต้องช่วยกัน.(ออนไลน์). ม.ป.ป.(วันที่ค้นข้อมูล 23 ธันวาคม 2555). เข้าถึงได้จาก http://hpc5.anami.moph.go.th

พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์. การสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว.(ออนไลน์).ม.ป.ป.(วันที่ค้นข้อมูล 30 พฤศจิกายน 2555) เข้าถึงได้จาก http://www.elib-online.com

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์. เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2553 ; 25: 5-9.

วรรณี เดียวอิศเรศ, กิ่งกาญจน์ คงสาคร, และศิริพร ภาณุวาทกุล. ความเชื่อเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองและวัยรุ่นในครอบครัวไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2554; 6(2): 48 – 58 .

สุรีย์พร กฤษเจริญ, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, กัญจนี พลอินทร์, ฐิติพร อิงคถาวรวงค์, และจรัญ ศรีทวีวัฒน์. การพัฒนาศักยภาพพ่อแม่เพื่อสอนเรื่องเพศให้ลูก. สงขลานครินทร์เวชสาร 2552 ; 27(4) : 61-70.

อาภาพร เผ่าวัฒนา. การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น: การมีส่วนร่วมของครอบครัวโรงเรียนและชุมชน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โนเบิล; 2552.

Department of Epidemiology, Ministry of Public Health. The number of AIDS patients To date, 28 February 2550, Bangkok.

Dilorio C, Kelley M, Hockenberry EM. Communication about sexual issues:mothers, fathers, and friends. Journal of AdolescentHealth 1999; 24: 181 – 189.

JaccardJD, Gordon V. Adolescent Perceptions of Maternal Approval of Birth Control and Sexual Risk Behavior.American Journal of Public Health 2000;90: 1426-1430.

LefkowitzES, Kahlbaugh P, Kit-fong AT, Sigman M. Longitudinal study of AIDS Conversations between Mothers and Adolescents. AIDS Education and Prevention1998; 10: 351 – 365.

Powattana, A. Development of a Model for Parent-Adolescent Daughter Communication about Sexuality

RosenthalD, Feldman SS. The Importance of importance: adolescents perceptionsof parental communication about sexuality. Retieved January 8, 2013 from http://www.idcalibrary.com

Siriporn Kauphuthai. Behavior problems of teenagers. Search on January 26, 2552 http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=139

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31