ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส., อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส.ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวเก็บข้อมูล ก่อน – หลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา โดยจับฉลาก จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. แบบมีส่วนร่วม 2) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2ส. ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วง 15 พฤษภาคม 2561 ถึง 31 สิงหาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t – test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001)องค์ประกอบด้านการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01) และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยโดยรวมไม่แตกต่างกัน มีเพียงพฤติกรรมด้านควบคุมปริมาณอาหารและรสชาติไม่ให้หวาน มัน เค็มจัดทุกมื้อมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01)
References
กรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ.เอกสารประกอบการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เรื่องและประเด็นการปฏิรูปด้านสาธารณสุข : ประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก http://dohhl.anamai.moph.go.th
กรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ.รายงานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง “การปฏิรูปความความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพ. [ออนไลน์]. (2559). (เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงได้จาก http://libraly2.parliament.go.th
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำ เนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. [ออนไลน์]. (2561). (เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงได้จาก http://www.ttkcup.com
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดเส้นทางสู่....ความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. บริษัท โอ – วิทย์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2560.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14 ปี ) กลุ่มประชาชน 15 ปี ขึ้นไป ฉบับปรับปรุง 2561. นนทบุรี; 2560.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยมหิดล. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉาน (health literacy) ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. มปท; 2559.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม.นักจัดการสุขภาพชุมชน. มปท; 2556.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรอบรม อสม.นักจัดการสุขภาพชุมชนตามกลุ่มวัยในตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการ ปีพุทธศักราช 2559. [ออนไลน์]. (2559). (เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงได้จาก www.chiangmaihealth.go.th>document
ธัญชนก ขุมทอง. รูปแบบอิทธิพลเชิงสาเหตุและผลของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของประชาชนคนไทยวัยผู้ใหญ่ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษดีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
ธัญชนก ขุมทอง วิราภรณ์ โพธิศิริ และขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2559; 3(6) พฤศจิกายน – ธันวาคม 2559 : 67 – 85.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์ิ. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. ศรีอนันต์การพิมพ์กรุงเทพฯ; 2553.
วนิดา ชนินทยุทธวงศ์. คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 4. วงศก์ มลโปรดักชั่น; 2544.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านเหลื่อม. รายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านเหลื่อม ปีงบประมาณ 2560. เอกสารอัดสำเนา; 2560.
สุภาพ พุทธปัญโญ นิจฉรา ทูลธรรมนันทิพัฒน์พัฒนโชติ. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรมการลดน้ำหนัก และน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559; 9(4) ตุลาคม – ธันวาคม 2559: 42 – 59
อังศินันท์ อินทรกำแหง. รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องการสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. มทท; 2560
Cochran,W.G. Sampling Techniques. 2nd ED., New York: John Wiley and Son, Inc ;1963
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว