วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
สุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญที่ควรดูแลสุขภาพช่องปาก เนื่องจากเป็นวัยที่มักพบปัญหาในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์ โรคฟันผุ ฟันสึก รวมถึงผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้น้อยและไม่ได้ ควรจำเป็นต้องมีความรู้ รวมทั้งทักษะที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการดูแลสุขภาพช่องปาก วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่สำคัญที่สุดคือ การแปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ใช้เวลาแปรงอย่างน้อยครั้งละ 2 นาที อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน คือตอนเช้าและก่อนเข้านอน หากลักษณะของฟันไม่สามารถที่จะทำความสะอาดได้หมดแค่เพียงใช้แปรงสีฟัน อาจจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมในการช่วยทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟัน เป็นต้น ในประเด็นของการรับประทานอาหาร ควรงดของหวาน แข็ง เหนียวติดฟัน หรือน้ำอัดลม และอาหารที่เป็นกรดที่มักส่งผลเสียต่อฟัน ควรหันมารับประทานอาหารที่มีรสชาติหวานน้อย จำพวกผักและผลไม้ที่มีเส้นใยเพื่อเป็นตัวช่วยในการขัดฟัน
ทั้งนี้ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแล ควรหมั่นที่จะตรวจสภาพของช่องปากว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น เสียวฟัน ปวดฟัน ฟันสึก หรือฟันเป็นรู เพื่อที่จะเป็นสิ่งชี้นำว่าควรที่จะไปพบทันตบุคลากรในการตรวจ วินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อเป็นการคงสภาพฟันและดูแลสุขภาพช่องปากโดยรวมให้ดีที่สุดต่อไป
References
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สังคมผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html.
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ คุณตาคุณยาย เนอร์สซิ่งโฮม. นิยามผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.kuntakunyay.com/content/.
สุทธิพลินทร์ สุวรรณกุล. ผู้สูงอายุกับปัญหาในช่องปาก และวิธีการป้องกันดูแลรักษา. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.info.dent.nu.ac.th/dentalHospital/index.php/2012-09-18-18-57.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. การดำเนินงาน ส่งเสริม และป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ. นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. ข้อแนะนาในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/PR/E-book/ elderly/keld04.html.
สำนักบริหารการสาธารณสุข. กรอบการพัฒนาระบบบริการทันตสุขภาพ (Oral Health Service Plan, 4 – 9.). แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารการสาธารณสุข; 2558.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล . การสูงวัยของประชากรไทย พ.ศ. 2557. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
Bureau of Dental Health, Department of Health. Oral Health Tips for Elderly. Bangkok : Veterans Administration Organization. (in Thai); 2015.
Colgate. การดูแลสุขภาพช่องปากสาหรับผู้สูงวัย . [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.colgate.com/th-th/oralhealth/life-stages/oral-care-age--up/oral-healthfor-seniors
Southerland, J., Mos, K. & Offenbacher, S. Periodontitis and Diabetes Associations with Measures of Atherosclerosis and CHD. Atherosclerosis 2012, 222(1) : 196 – 201.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว