การมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้มีภาวะเสี่ยง ต่อโรคความดันโลหิตสูง บ้านหนองเม็ก ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ฉัตรณรงค์ คงบารมี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแก้งสนามนาง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, พฤติกรรมสุขภาพ, ความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน จากการถูกทำลายและการแข็งตัวของหลอดเลือด ทำให้อวัยวะที่สำคัญถูกทำลาย เป็นผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ไตวาย อัมพาตและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในประเทศไทยความชุกของโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข โดยกลุ่มประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง (pre-hypertension) ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ ร้อยละ 10 ซึ่งมากกว่ากลุ่มปกติถึง 2 เท่า การรับประทานอาหารที่มีเกลือมากเกินไปและ การรับประทานอาหารที่มีโปตัสซียมซึ่งมีอยู่ในผักผลไม้น้อยเกินไป การขาดกิจกรรมทางกาย และความอ้วน การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการบริโภคไขมันทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง หากสามารถลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้

การศึกษานี้ได้นำหลักการของการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีความดันโลหิตลดลง ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีระดับความดันโลหิตช่วงบน อยู่ระหว่าง 120 – 139 mmHg และ/หรือความดันช่วงล่างอยู่ระหว่าง 80 – 89 mmHg จำนวน 35 คน กิจกรรมดำเนินการ แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวางแผนดำเนินงาน (2) การจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (3) การติดตามและประเมินผลโครงการ (4) การสะท้อนกลับผลการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่าง เดือน พฤษภาคม ถึง เดือน กรกฎาคม 2562 การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง ใช้ Pair t – test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ ระดับความดันโลหิตระหว่างก่อนดำเนินกิจกรรมและหลังดำเนินกิจกรรม

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.0 มีอายุระหว่าง 51 – 60 ปี ร้อยละ 57.1 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 71.4 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 91.4 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 57.1

การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ ระดับความดันโลหิต ก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังดำเนินกิจกรรมแตกต่างจากก่อนดำเนินกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001)

References

กานต์พีชญา เนตรพิสิทธิ์กุล . ผลการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันได้ ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะค่า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2559; 16(2) เมษายน– มิถุนายน : 230 – 43.

จังหวัดนครราชสีมา. รายงานผลการคัดกรองประชากรอาย 15 ปี ขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง. [ออนไลน์.] (2562). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/

นวลนิตย์ ไชยเพชร, อุดมศิลป์ แก้วกล่า, สิทธิพงษ์ สอนรัตน์, ยุวดี วิทยพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชนโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(2) : 45 – 62.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2561; 29(2) กรกฎาคม – ธันวาคม : 2 –11.

ภัสพร ขำวิชา. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในชุมชนซอยโจ๊ก เขตบางซื่อ. กรุงเทพฯ . วารสารเกื้อการุณย์; 2557.

วิริยา สุขวงศ์. แบบสัมภาษณ์ ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะทางประชากร ส่วนที่ 2 ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ส่วนที่ 3 พฤติกรรมสุขภาพของผู้มีภาวะเสี่ยง; 2554.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2559. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/dcumentsdetail.php?id=13486&tid=32&gid=1-020

สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2560. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/2016/mediadetail.php?id=12986&tid=30&gid=1-015-008

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สรุปรายงานประจำปี พ.ศ . 2561. นครราชสีมา; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. สรุปรายงานประจำปี พ.ศ. 2561. นครราชสีมา; 2562.

Aldiab A et al. Prevalence of hypertension and prehypertension and its associated cardioembolic risk factors; 2018. [12] World Health Organization- International Society of Hypertension. World Health Organization - International Society of hypertension guidelines for the management of hypertension. Guidelines subcommittee. J Hypertens 1999; 17(2): 51 – 183.

World Health Organization. Non communicable Diseases ( NCD) globalncd- target-reduce-high-blood- pressure [Online]. (2016). [cited 2019 Jan 31] . Available from https://www.hiso.or.th/hiso5/report/download.php?name=thai2017_7

World Hypertension League. World hypertension day 2018 brochure, the World Hypertension League Internet. Switzerland : Foundation for World Health Organization. [Online]. (2018). [cited 10 March 2018] . Available from : http://www.Worldhypretensionleague.org/DocumentsWHD2013WHD202013%20brochure.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30