ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล ในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุธาดา ศิริกิจจารักษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารการเงินการคลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์การบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดสุรินทร์ (2) ประสิทธิภาพ การบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดสุรินทร์ โดยการใช้กระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA และ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดสุรินทร์ ตาม กระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล ๆ ละ 15 คน จำนวน 17 แห่ง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบบันทึกข้อมูลในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบบันทึกข้อมูลการเงินและ แบบสอบถาม วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเชิงคุณภาพ ยึดหลักการตรวจสอบหลายมิติ (tringuration) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีพรรณนาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t – test (dependent samples) และการวิเคราะห์ถดถอยแบบ Stepwise multiple linear regression

ผลการวิจัย พบว่า สถานการณ์ทางการเงินของโรงพยาบาล จังหวัดสุรินทร์ ระหว่าง ปี 2560 – 2561 อยู่ในระดับค่อนข้างวิกฤติ คือมีความเสี่ยงทางการเงินเป็นส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ จึงมีแนวทางในการพัฒนาการประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาระบบการตรวจสอบการเงินการคลัง การติดตามกำกับ จากการพัฒนามีผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารการเงินการคลังโดยรวม อยู่ในระดับดีมีสภาพคล่องทางการเงินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ส่งผลทำให้สถานการณ์วิกฤติทางการเงินลดลง โรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่มีความเสี่ยงทางการเงิน และไม่มีความเสี่ยงทางการเงิน มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเพิ่มขึ้น มีหนี้สินหมุนเวียนลดลง มีเงินสดคงเหลือ เพิ่มขึ้น จากความคิดเห็น ของกลุ่มตัวอย่าง ต่อการปฏิบัติในการบริหารการเงินการคลัง พบว่า อยู่ในระดับสูง คือ ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการบริหารการเงินการคลัง และ ด้านผลผลิต ส่วนด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ของกลุ่มตัวอย่าง ต่อการปฏิบัติใน การบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลระหว่างผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติ พบว่า ทั้งภาพรวม และรายด้านคือด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการบริหารการเงิน การคลัง และ ด้านผลผลิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ด้านปัจจัยนำเข้า ไม่แตกต่างกัน

ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการบริหารการเงินการคลัง และด้านผลผลิต ส่วนด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล ต่อการปฏิบัติใน การบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลระหว่างผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติ พบว่า ทั้งภาพรวม และรายด้านคือด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการบริหารการเงิน การคลัง และ ด้านผลผลิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ด้านปัจจัยนำเข้า ไม่แตกต่าง

References

กรุงเทพธุรกิจ. สัญญาณ “วิกฤติงบสุขภาพ” โรงพยาบาลขาดทุน. [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.Bangkokbiznews.com.

กลุ่มประกันสุขภาพ . บทวิเคราะห์สถานการณ์การจัดสรรงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2554 – 2555. นนทบุรี : สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

เขมมารี รักษ์ชูชีพและจิตรลดา ตรีสาคร. ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 2558; 7(2) : 57 – 70.

จุติมาพร สาขากูล. การวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดด้านการเงิน. นนทบุรี : สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

บัญชา ค้าของ. การบริหารโรงพยาบาลแบบมืออาชีพ การพัฒนาระบบข้อมูลการคลังและระบบบริการสาธารณสุข. ในจดหมายข่าวทิศทางพัฒนาการจัดการการคลังระบบประกันสุขภาพ 2554; 4 (8): 1 – 20.

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. รูปแบบการบริหารโรงพยาบาล ที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน โรงพยาบาลพระปกเกล้าจังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556; 30 (2) : 106 – 22.

วิชัย กุลศรีวนรัตน์. ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของสถานบริการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ปีงบประมาณ 2553 – 2555. จุลสารกลุ่มบริหารบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร 2556; 15(2): 147 – 155.

สุธาดา ศิริกิจจารักษ์. การบริหารการเงินและประสิทธิภาพของโรงพยาบาล ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2557; 22(2) : 378 – 387.

สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย. วิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ภาพรวมวิกฤติทางการเงินของโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 8.นนทบุรี : สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

สมพร แวงแก้ว. ประสิทธิผลการจัดการกระบวนการชดเชยบริการทางการแพทย์ค่าใช้จ่ายสูงของโรงพยาบาลภาครัฐ ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

อุราพร สิงห์เห ประภัสสร ก้อนแก้ว กัลยา สิงห์เห และเฉลิมศรี กองศรี. การศึกษาประสิทธิภาพของการบูรณการระบบบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบภายใน ต่อภาวะวิกฤติการเงินระดับ 7 โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ ปี 2556. แพร่ : โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่. เอกสารอัดสำเนา; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30