ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลวังน้ำเขียว
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การจัดการ, ขยะติดเชื้อ, บุคลากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อรวมถึงศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลวังน้ำเขียว จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (statistical package for social sciences) โดยใช้สถิติอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียวและการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อคือระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงาน การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะติดเชื้อก่อให้เกิดความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะติดเชื้อและการรับรู้ภาวะสุขภาพมีผลให้เกิดความแตกต่างของพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลวังน้ำเขียว คือ การขาดความตระหนัก ความใส่ใจในการจัดการขยะติดเชื้อ ขาดการควบคุมกำกับติดตามอย่างเป็นระบบการขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในเรื่องของการจัดการขยะติดเชื้อ
References
กรมอนามัย. แนวทางการจัดการขยะติดเชื้อ. กรุงเทพฯ : กองอนามัยสิ่งแวดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.
กรมอนามัย. รูปแบบการจัดการขยะติดเชื้อ. กรุงเทพฯ : กองอนามัยสิ่งแวดล้อมกระทรวงสาธารณสุข; 2559.
จอมจันทร์ นทีวัฒนา. ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการภาครัฐ.[ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://thailandand.digitajournals.orglindex.php/lphj
ณัฐวดี คงตั๋น. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตมีนบุรีกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2556.
ธงชัย มั่นคง. พฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลเชียงคาจังหวัดพะเยา.วารสารสาธารณสุขล้านนา 2559; 13 (1) : 37 – 50.
ปรมะ สตะเวทิน. นิเทศศาสตร์กับสังคม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.
พิกุล ภุดมดี. ศึกษารูปแบบของการจัดการขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลศูนย์. [ออนไลน์]. (2552). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.Nidtp.go.th/emag/research/data/modul1/change_news.htm
พูนพนิต โอเอี่ยม. พฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร. [ออนไลน์]. (2556). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560] . เข้าถึงได้จาก http://Thailand.digitaljourals.org/index.php
โรงพยาบาลวังน้ำเขียว. แนวปฏิบัติการจัดการขยะติดเชื้อ . นครราชสีมา : โรงพยาบาลวังน้ำเขียว. เอกสารอัดสำเนา; 2559.
อภินันท์ สุขบท. บทบาทของบุคลากรในการจัดการขยะติดเชื้อในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว