สถานการณ์การให้บริการการแพทย์แผนไทยในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
แพทย์แผนไทย, บริการด้านการแพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้บริการการแพทย์แผนไทยในจังหวัดนครราชสีมาและเปรียบเทียบผลงาน การให้บริการการแพทย์แผนไทยของจังหวัดนครราชสีมากับจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 9 และจังหวัดที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน โดยรวบรวมข้อมูลจากโปรแกรม HDC และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ นำเสนอความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย พบว่า ร้อยละ 45.28 ของหน่วยบริการแพทย์แผนไทยในจังหวัดมีอาคารสถานที่ให้บริการเฉพาะเป็นสัดส่วน ร้อยละ 45.16 มีการแยกโครงสร้างการบริหารแยกเป็นกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยอย่างชัดเจนสัดส่วนแพทย์แผนไทยต่อประชากร คิดเป็น 1 : 33,026 และมีสัดส่วนแพทย์แผนไทยต่อหน่วยบริการ 1 : 4.78 แพทย์แผนไทยและผู้ช่วยแพทย์แผนไทยมีภาระงานนวด 2.12 ครั้งต่อคนต่อวัน หน่วยบริการทุกแห่งมีการจัดบริการจ่ายยาสมุนไพร นวด ประคบ อบ ดูแลมารดาหลังคลอดและบริการส่งเสริมสุขภาพ และ 3 ลำดับแรกของการจัดบริการมากที่สุด ได้แก่ การจ่ายยาสมุนไพร การส่งเสริมสุขภาพ และการนวด คิดเป็นร้อยละ 12.66, 4.83 และ 3.55 ตามลำดับ โดยสรุปแล้วในปี 2561 ร้อยละ 20.99 ของผู้ป่วยนอกในจังหวัดนครราชสีมาได้รับบริการการแพทย์แผนไทย และผลงานดังกล่าวจัดเป็นลำดับที่ 3 ของเขตสุขภาพที่ 9 และเป็นผลงานน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบในจังหวัดขนาดเดียวกัน (จำนวนประชากรมากกว่า 1.5 ล้านคน) หน่วยบริการในจังหวัดนครราชสีมามีความพร้อมในการให้บริการทั้งเรื่องโครงสร้าง เวชภัณฑ์ยาสมุนไพร อุปกรณ์ และบุคลากร แต่ผลงานบริการยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยภาพรวมประเทศ ซึ่งควรมีการศึกษาโดยละเอียดต่อไป
References
กรกช อินทอง, สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์ และกุลทัต หงส์ชยางกูร. รูปแบบการให้บริการสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษาจังหวัดตรัง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2561; 11(1) มกราคม –มิถุนายน 2561 : 193 – 203.
กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานแพทย์แผนไทย. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=30bc6364fc06a33a7802e16bc596ac3b
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือสาหรับผู้บริหารงานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
ธีรยา นิยมศิลป์ และณัฏฐิญา ค้าผล. การให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ 2553; 5 มกราคม– ธันวาคม : 178 – 89.
ภรณ์ทิพย ์ ขุนพิทักษ์. รูปแบบการให้บริการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขระดับตติยภูมิ ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปในเขตบริการสุขภาพที่ 12. . สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.
มณฑกา ธีรชัยสกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2558.
สำนักงานข้อมูลและคลังความรู้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก 2557 – 2559. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว