แนวทางส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุวรรณาภา ศรีนาค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

วัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่, แรงงานต่างด้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอดของกลุ่มแรงงานต่างด้าว กระบวนการส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว และผลของแนวทางส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคปอดเสมหะบวกราย ใหม่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ แรงงานต่างด้าว จำนวน 413 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว จำนวน 10 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Paired sample t-test และ Pearson's correlation coefficient ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สัญชาติกัมพูชา ส่วนใหญ่ไม่เคยสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคปอด ก่อนอบรมพฤติกรรมอยู่ที่ระดับปานกลาง และมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอดระดับปานกลาง (2) โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการที่ระดับพึงพอใจมาก และมีความต้องการที่ระดับต้องการมากเช่นกัน ภายหลังการอบรมแรงงานต่างด้าวมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นจากก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001, t = 18.60) และมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001, t = 16.45) ความรู้ของแรงงานต่างด้าว มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง (r = 0.60; p-value = 0.412) (3) แนวทางส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคปอดเสมหะบวกราย ใหม่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว จังหวัดนครราชสีมา คือ LUNG-D Model คือ (1) นายจ้างต้องสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง (2) แรงงานต่างด้าวต้องมีความตระหนักถึงความรุนแรงของวัณโรคปอด (3) องค์กรด้านสุขภาพต้องไม่หยุดสนับสนุนด้านสุขภาพ (4) โรงงานอุตสาหกรรมต้องปรับปรุงภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดี (5) อาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าวต้องพัฒนาทักษะส่วนบุคคล แนว ทางฯ ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม สามารถใช้งานได้จริง

References

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สุขภาพของแรงงานต่างด้าว. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2559.

กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. แรงงานต่างด้าว. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด ; 2559.

ขวัญใจ มอนไธสง จีราภรณ์ กรรมบุตร และวนลดา ทองใบ. ปัจจัยทานายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับ ผู้ป่วยวัณ โรคปอดที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18(พิ เศ ษ ) พฤษภาคม – สิงหาคม : 306 – 14.

ญาดา เรียมริมมะดัน และศิรินันท์ คาสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 21(42) มกราคม – มิถุนายน : 79 – 91.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html.

นิสารัตน์ คำด้วง และศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ. ผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรคปอดของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561; 10(2) กรกฎาคม – ธันวาคม : 345 – 55.

พุทธิไกร ประมวล จิราพร เขียวอยู่ และนงลักษณ์ เทศนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนจากเสมหะบวกเป็นเสมหะลบเมื่อสิ้นสุด 2 – 3 เดือนแรกของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัย มข. 2557; 14 (4) ตุลาคม – ธันวาคม : 93 – 105.

ไพรัช ม่วงศรี วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และวิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร. ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรมต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่. วารสาร มฉก. วิชาการ 2555; 16(31) กรกฎาคม – ธันวาคม : 31 – 48.

รัชตะ รัชตะนาวิน. ผู้ป่วยวัณโรคในไทยเพิ่มสูงขึ้น แต่เข้าถึงการรักษาแค่ 60%. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2015/07/10359

วิชุดา เสพสมุทร และช่อทิพย์ บรมธนรัตน์.ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวใน จังหวัดสมุทรสาคร. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554

วรรณรา ชื่นวัฒนา ชูชีพ เบียดนอกและกิรตา คงเมือง. การพัฒนารูปแบบการจัดการระบบสาธารณสุขชายแดนประเทศไทยบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษตากเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2561; 10(1) มกราคม – มิถุนายน : 237 – 45.

วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ สุมัทนา กลางคาร และสรญา แก้วพิทูลย์. ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2561; 25(1) มกราคม – เมษายน : 79 – 90.

สมัญญา มุขอาษา และเกษรสา เภาทอง. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพโดยการประยุกต์ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 24(1) เมษายน : 13 – 27.

สุรัชนี เคนสุโพธ์ิ. การศึกษาสภาพการจ้างงาน ปัจจัยจูงใจส่งเสริม และกระบวนการเข้าสู่การจ้างงานแรงงานข้ามชาติของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ในจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2560; 8 ฉบับพิเศษตุลาคม 2560 อาเซียน: แรงงานกับการพัฒนา: 36 – 58.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.การรักษาผู้ป่วยปอดรายใหม่. นครราชสีมา :สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2559.

Johnson, A. P. A Short Guide to Action Research (3rd ed.). Boston : Pearson Education; 2008.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York : Harper and Row; 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30