ปัจจัยที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจจากการทำงานชุบทองแบบครัวเรือน ของผู้ประกอบอาชีพในชุมชนเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อนุชา ภู่กลาง สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
  • นลธวัช ทองตื้อ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
  • จงเจตน์ จงสมจิตร สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
  • ฌาน ปัทมะ พลยง สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

อาการทางเดินหายใจ, สมรรถภาพปอด, ชุบทองในครัวเรือน

บทคัดย่อ

ผู้ประกอบอาชีพมีความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตรายในงานชุบทองแบบครัวเรือนในชุมชนภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการทางระบบทางเดินหายใจและทดสอบสมรรถภาพปอด ใช้รูปแบบเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางในกลุ่มศึกษาจำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน  การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มเลือกแบบ Convenient random sampling เครื่องมือที่ใช้ศึกษามี 2 ชนิด ประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์ที่ผ่าน การทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา และ (2) ทดสอบสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรเมตรีย์ ประเมินค่าร้อยละปริมาตรอากาศสูงสุดที่ได้จากการหายใจออกเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) ปริมาตรอากาศสูงสุดใน 1 วินาทีแรกที่ได้จากการหายใจออกเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1) และค่าร้อยละของ FEV1ต่อ FVC วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS รุ่น 21.0 ใช้สถิติพรรณนาและ Multiple linear regression วิธี Enter

ผลการวิจัย พบว่า ประมาณ 2 ใน 3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 35.78±11.01 ปี มีรูปร่างท้วม (ดัชนีมวลกายมากกว่า 25) ร้อยละ 42.50 ทั้งหมดทำงานมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง และทำงานมาแล้วเฉลี่ย 5.82±5.03 ปี ผู้ประกอบอาชีพชุบทองไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจส่วนบุคคล ร้อยละ 80.00 สวมใส่หน้ากากผ้าบางครั้งร้อยละ 20.00 มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ร้อยละ 50.00 สำหรับข้อมูลระบบทางดินหายใจ พบว่า กลุ่มศึกษามีอาการไอ ร้อยละ 10.00 มีความผิดปกติแบบจำกัดการขยายตัวของปอด ร้อยละ 37.50 ผลการวิเคราะห์อนุมานพบว่า ชั่วโมงการทำงานต่อวันและระยะเวลาปีที่ทำงานมีผลต่อค่า FVC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อแนะนำผู้ประกอบอาชีพควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจส่วนบุคคลให้ถูกประเภทในขณะทำงาน หน่วยงานด้านสุขภาพควรให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพและสุขวิทยาในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน

References

ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี. การชุบทอง: รู้ใช้ ปลอดภัยจากเคมี. [ออนไลน์]. (2550). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.chemtrack.org/BoardFile/F4-9-1.pdf

ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี. Sodium cyanide. [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.Chemtrack.orgchemdetailasp?ID=01845&CAS=&Name=

ฌาน ปัทมะ พลยง อนามัย เทศกะทึก และนันทพร ภัทรพุทธ. เปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเบนซีนและผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพริมถนนในเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2558; (8) 28 : 7 – 20.

ฌาน ปัทมะ พลยง และมริสสา กองสมบัติสุข. โรคปอดจากการประกอบอาชีพและการทดสอบสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2559; 16 : 16 – 36.

ดุษฎี อายุวัฒน์ และวณิชชา ณรงค์ชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงานของแรงงานนอกระบบ ในชนบทจังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ 2556; 30 : 17 – 50.

ปภาวีย์ หมั่นกิจการ และทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการทางเดินหายใจของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน : กรณีศึกษาแรงงานทำดอกไม้ประดิษฐ์จากสำลี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2560; 10 (36) : 36 – 45.

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2541

วิยะดา แซ่เตีย อรอนงค์ เอี่ยมขา ฌฐมน ศิลปะพรหมมาศ และปวิตร ชัยสิทธ์ิ.สมรรถภาพปอดของตำรวจกับมลพิษทางอากาศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. กลุ่มงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม สำนักป้องกันและควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช; 2552.

ศิริอร สินธุ อุมาภรณ์ กำลังดี และรวมพร คงกำเนิด. ผลของการสัมผัสควันต่อสมรรถภาพปอดของประชาชนวัยผู้ใหญ่ที่อาศัยในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล 2554; 26 (3) : 93 – 106.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสถิติรายปีประเทศไทย พ.ศ. 2557. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. บทสรุปสำหรับผู้บริหารแรงงานนอกระบบ ปี พ.ศ. 2559. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://service.nso.go.thnsonsopublish/themes/files/workerOutExc59.pdf

อนามัย เทศกะทึก ธีรยุทธ เสงี่ยมศักด์ิ วัลลภ ใจดี และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและผลเลือดทางชีวเคมีจากการรับสัมผัสสารกาจัดแมลงในแรงงานต่างด้าวในเขตภาคตะวันออก: ปัจจัยที่มีผลกระทบ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

David M, Kartheek RM. Sodium cyanide induced histopathological changes in kidney of fresh water fish Cyprinus carpio under sublethal exposure. IJPCBS 2014; 4 (3) : 634 – 9.

Karimi A, Eamira E, Mostafaee M. Restrictive pattern of pulmonary symptoms among photocopy and printing workers: A retrospective cohort study. J Res Health Sci 2016; 16 (2) : 81 – 4. 120

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30