การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรด้วยการมีส่วนร่วม ของชุมชนตำบลงิ้วราย
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และปัญหาของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร (2) พัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา และ (3) ศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในกลุ่มวัยรุ่นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลงิ้วราย 3 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) พัฒนาชุมชน ครู แม่บ้านสาธารณสุข จำนวน 9 คนและในช่วงศึกษาประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนแลผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการจำนวนกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือ การวิจัย ประกอบด้วย การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณเป็น ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาพปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในกลุ่มวัยรุ่นในชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจาก ครอบครัวขาดความอบอุ่น การขาดความรู้ ขาดผู้ให้คำปรึกษาที่ไว้ใจ ใช้สื่อ ไม่ถูกต้อง และแนวทางการดูแลของชุมชนไม่ชัดเจน (2) การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในกลุ่มวัยรุ่น มีดังนี้ การอบรมความรู้และทักษะ แก่เยาวชนและผู้ปกครอง เพิ่มการเข้าถึงบริการโดยการใช้สื่อ การให้คำปรึกษาจากบุคคลที่ไว้ใจ (แม่คนที่ 3) และการเยี่ยมบ้านร่วมกันทุกภาคส่วน (3) ประสิทธิผลของแนวทาง การป้องกันและแก้ไขฯ พบว่า บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความชัดเจน วัยรุ่นมีความพึงพอใจใน การอบรมในระดับมาก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความพึงพอใจมากกับแนวทางการดำเนินงาน และผลการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นจากปี 2559-2561 ลดลงจนไม่เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่น
References
ฉัตรจงกล ตุลยนิษกะและคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของสตรีวัยรุ่นในจังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8 วัน ที่ 22 มิถุนายน 2560. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2560.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิภาษา; 2545.
นันทิวา สิงห์ทอง และคณะ. พฤติกรรมเสี่ยงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโรงเรียนมัธยมศึกษา ตำบลบ้านแปรง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 ในวันที่ 18 – 19 มิถุนายน 2558, นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา; 2558.
วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ และนันท์นภัส สารพาณิช. การพัฒนาโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2555; 5 : 94 – 106.
ศศิธร จารย์คูณและคณะ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24 : 14 – 23.
ศรีเพ็ญ ตันติเวสส และคณะ. สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย. นนทบุรี : กรมอนามัย; 2556.
สมใจ วินิจกุล. อนามัยชุมชน กระบวนการวินิจฉัยและการแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : พันนีพับบลิซิ่ง; 2550.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี. สรุปผลการดำเนินงานในวัยรุ่น. สิงห์บุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี; 2561.
สำเริง ดัดตนรัมย ์ และจารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ตำบลกระสัง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ สคร.9 2562; 25 : 78 – 87.
อาภาพร เผ่าวัฒนา. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฏีสู่ การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา; 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว