ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยง บ้านแม่คาตลาด ตำบลแม่คา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ประภาธิดา วุฒิชา คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57000
  • เบญจพร ทองมาก คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยทองสุข กรุงเทพฯ 10170
  • กมลพัชร วิสุทธิภักดี บริษัสำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
  • จุน หน่อแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา 30000

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โปรแกรมสุขศึกษา, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ การรับรู้ การปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงบ้านแม่คา ตลาด ตำบลแม่คา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi - experimental design) แบบศึกษาสองกลุ่มวัดสองครั้งทั้งก่อนและหลังการทดลอง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทั้งหมด 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน ในกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรมกระบวนการกลุ่ม การบรรยาย การสาธิต คู่มือการป้องกันโรค รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง ใช้สถิติ Paired t – test และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้ สถิติ Independent t – test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

References

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์องค์การสังเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข [ออนไลน์]. (2556). [เข้าถึงเมื่อ วันที่18 กุมภาพันธ์ 2560] เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th_

กรมควบคุมโรค สำนักระบาดระบาดวิทยาแนวทางการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจขาดเลือด. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่18 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก http://epid.moph.go.th/NCDwe2/chronic/chronicSurv47701.html .

Dunn, Steven Prenticeand Ronald W.Roger. Protection Motivation Theory and Preventive Health : Beyond the Health Belife Model. In Health Edcation Researt Theory and Pratice; 1986.

เพ็ญศรี สุพิมล. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงอายุ 35-59 ปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ]. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

ขนิษฐา ทองหยอด. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.

พิเชษฐ์ หอสูติสิมา. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 9. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://digitaljournals.moph.go.th/tdj/index.php/ODPC9/article/view/6640

ยุภาพร นาคกลิ้ง และ ปราณี ทัดศรี. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต . กรุงเทพฯ : สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี; 2558.

ปิยวรรณ ศรีสุวนันท์. ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของแพนเดอร์ โรงพยาบาลปากช่องนานา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2560; 3(2) : 105 – 18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30