การพัฒนาตำรับอาหารท้องถิ่นที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วลัญช์ชยา เขตบำรุง มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • มะลิ โพธิพิมพ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พงศ์ภัทร ภิญโญ โรงพยาบาลสีคิ้ว
  • อารีย์ เชื้อเดช โรงพยาบาลสีคิ้ว
  • ฉัตรทอง บุณยภัทรากุล โรงพยาบาลสีคิ้ว
  • สมประสง อึ้งวิจิตรอำไพ โรงพยาบาลสีคิ้ว
  • สุธาทิพย์ พันธุ์ฤทธิ์ โรงพยาบาลสีคิ้ว
  • วงเดือน ประณีตพลกรัง โรงพยาบาลสีคิ้ว

คำสำคัญ:

ตำรับอาหารท้องถิ่น, การมีส่วนร่วม, ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับอาหารท้องถิ่นที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วม และศึกษาผลการนำตำรับของอาหารท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างสำหรับพัฒนาตำรับอาหารท้องถิ่นที่เหมาะสม จำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 50 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างประชุมเชิงปฏิบัติการ สนทนากลุ่มย่อย เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาตำรับอาหารจากวัตถุดิบในท้องถิ่นที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จำแนกอาการตามเมนูอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่ ปลานิลนึ่งแจ่วมะเขือเทศ คุณค่าพลังงานอาหารต่อ 1 คน 278 กิโลแคลอรี แกงส้มผักรวม คุณค่าพลังงานอาหารต่อ 1 คน 150 กิโลแคลอรี ยามะเขือยาว คุณค่าพลังงานอาหารต่อ 1 คน 76 กิโลแคลอรี สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คือ ขั่ววุ้นเส้นข้อแนะนาในการรับประทานอาหารประจำวันสำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ช่วงวัยตั้งแต่ 30 ปี -70 ปี ขึ้นไป) ควรได้รับพลังงานอาหารวันละ 2,000 กิโลแคลอรี และ พบว่า การนำตำรับอาหารท้องถิ่น ไปทดลองปรุง และรับประทานกับผู้ป่วย 50 คน โดยรวมมีการปฏิบัติ (92.0%) มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง (84.0%) ระดับความดันโลหิตลดลง (58.0%) ดังนั้นเพื่อให้ตำรับอาหารท้องถิ่นเข้าถึงกลุ่มผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย ควรพัฒนาการรับรู้การเข้าถึง และการปฏิบัติที่ถูกต้อง อย่างต่อเนื่องให้กับผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วย หรือผู้ปรุงอาหาร

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สถานะสุขภาพ เอกสารรับการตรวจราชการรอบ 1/2561. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.korathealth.com/korathealth/download/attractfile/15154252023.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). เปิดข้อมูลผู้ป่วยบัตรทอง ปี 62 พบผู้ป่วยพิษสารเคมีกว่า 3 พันราย. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjU0OA

กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย (Food Safety Hospital). พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรสาคร : บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2560.

Cohen John M.and Uphoff Norman T, Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York: The Rurall Development Committee Center for International Studies, Cornell University; 1977.

บุษรา มุกดาสกุลภิบาล. พัฒนาตำรับอาหารจากพืชผักและส่วนประกอบอื่นที่มีการศึกษาว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaiexplore.net/author/getBibidByAuthor/3410

รวีโรจน์ อนันตธนาชัย และคณะ. การพัฒนาสารับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงและบริบทชุมชน. SDU Research Journal Sciences and Technology 2013; 3(1) : 59 – 74.

มาลี คำคง มาริสา สุวรรณราช และสกุนตลา แซ่เตียว. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุ โดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่”ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กรณีศึกษาชมชนผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 23(2) : 69 – 82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30