การพัฒนาระบบการบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบการบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและพัฒนาคุณภาพระบบการบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างแบ่ง 2 กลุ่มคือ (1) ผู้ป่วย จำนวน 591 คน ญาติ จำนวน 597 คน และ ผู้ให้บริการจำนวน 198 คน (2) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 9 คน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ (1) สำรวจข้อมูลจากผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง (2) ใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 มาเป็นประเด็นในการสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ควรมีการพัฒนาตามองค์ประกอบต่าง ๆ คือ (1) การสนับสนุนการดูแลตนเองได้แก่การจัดมีและใช้สมุดประจำตัว การรับรู้การดำเนินของโรค การมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายในการรักษาพยาบาล (2) การออกแบบระบบบริการได้แก่ การได้รับความร่วมมือจากบุคลากร รพ.สต.ในเครือข่ายเดียวกัน และการมีอาสาสมัครสาธารณสุขและจิตอาสาร่วมให้บริการผู้ป่วยขณะมารับบริการและติดตามเยี่ยมบ้าน (3) การสนับสนุนการตัดสินใจ ได้แก่ จัดทำ CPG ให้แพทย์ทุกคนใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และเป็น CPG ที่มีความเหมาะสมสำหรับพยาบาลใช้ตรวจรักษามีการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการและการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะด้านกาลังคน (4) ระบบข้อมูลทางคลินิกได้แก่ การพัฒนาด้าน IT ให้กับบุคลากรการจัดคู่มือการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริการ (5) องค์กรให้บริการสุขภาพ ได้แก่ ผู้นำต้องตอบสนองนโยบายและแสดงบทบาทของผู้นำการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการร่วมให้บริการ และ(6) ทรัพยากรและนโยบายของชุมชน คือ การสะท้อนปัญหาสุขภาพของประชาชนผ่านทางผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมของจิตอาสาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งที่เป็นภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนระบบบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
References
เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม และพรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์. การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่3 พ.ศ. 2546 – 2547. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมถ์; 2549.
วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ 2551 – 2. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2552.
วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ 2557. สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2559
กระทรวงสาธารณสุข. Health data center: HDC. [ออนไลน์]. (2018). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.Php
ปัทมา โกมุทบุตร. เอกสารประกอบการเรียนรู้ Chronic Care Model. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์]. (2015). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.med.cmu.ac.th/dept/commed/2015/images/2_Chronic_care_model_improving_primary_care_f
มธุรมาศ สีเสน . Chronic Care Model. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์]. (2018). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 เมษ ายน 2562.]. เข้าถึงได้จาก http://www.med.cmu.ac.th/dept/commed/2015/images/Doc_y_4/CHHP_2561_L6.1_Chronic_care_model_document.pdf
พัชนา เฮ้งบริบูรณ์ พงศ์ ใจดี. ระบบการบริหารแบบลีน : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติในงานสาธารณสุขที่สร้างความผูกพันกับชุมชน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2): 133 – 42.
Krejcie R V, Morgan D W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30 (3) : 607 – 10 .
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.
วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี . ต้นแบบการดูแลผู้ป่วยโรค เรื้ อรัง (Chronic Care Model หรือ CCM) คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สรวส.) [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th
สุทธีพร มูลศาสตร์ ชมนาด พจนามาตร์ และนิชธาวัลย์ ถาวร. การจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนที่มีความหลากหลายวัฒนธรรมเขตพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560; 31(3): 145 – 61.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก อัจฉรา วรารักษ์ ทัศนีย์ ศิลาวรรณ และคณะ. การดำเนินงานตามรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังของพยาบาลวิชาชีพและผลลัพธ์ทางคลินิกในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระบบสุขภาพชุมชนระดับชาติครั้งที่ 1; 2560.
พุทธิดา จันทร์ดอนแดง วรพจน์ พรหมสัตยพรต และอุรารัช บูรณะคงคาตรี.การพัฒนาคุณภาพระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558; 12(3): 84 – 94.
อาทิตยา วังวนสินธุ์ นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ ภูดิท เตชาติวัฒน์และคณะ. ความเห็นพ้องของนิยามการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไทย ด้วยการใช้เทคนิคนอมินัลกรุ๊ป. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 9(1): 36 – 50.
กรรณิการ์ เชิงยุทธ์ นงนุช โอบะ และธนกร ลักษณ์สมยา. ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2555; 6 (2) : 110 – 22.
วิโรจน์ รัตนอมรกุล เสาวนันท์ บำเรอราช และนวลฉวี เพิ่มทองชูชัย.การจัดบริการคลินิกโรคเบาหวานที่เหมาะสมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 1(2): 59 – 68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว