ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • เบญจพร ทองมาก คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, สุขบัญญัติแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตามสุขบัญญัติแห่งชาติและหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติกับระดับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติของกลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14 ปี) ฉบับปี 2561 ของกองสุขศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและใช้แบบแปลผลคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของกองสุขศึกษา หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างตัวแปรด้วยโปรแกรม SPSS สถิติ One-Way ANOVA กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 148 คน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศชาย จำนวน 76 คน (ร้อยละ 51.35) เพศหญิง จำนวน 72 คน (ร้อยละ 48.65) ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนส่วนใหญ่เป็นครู จำนวน 87 คน (ร้อยละ 58.8) รองลงมาเป็นคนในครอบครัว จำนวน 55 คน (ร้อยละ 37.2) ด้านคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ เฉลี่ยอยู่ที่ 55.24 คะแนน จัดอยู่ในระดับที่ดี ส่วนในด้านคะแนนพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ เฉลี่ยอยู่ที่ 38.51 คะแนน จัดอยู่ในระดับที่ดี ด้านการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า (1) คะแนนรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพกับเพศไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.05 (P=0.74)  (2) คะแนนรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพกับผู้ถ่ายทอดความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.05 (P=0.386) (3) คะแนนรวมความ รอบรู้ด้านสุขภาพกับระดับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.05 (P=0.00) การศึกษานี้มีข้อเสนอให้โรงเรียน สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของเด็กนักเรียน ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกับสถานะสุขภาพของนักเรียนควบคู่กันไป

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). 1St ed. กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด; 2560.

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี 2560; 44(3) : 183 – 97.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 7-14 ปี และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป; 2561.

มารยาท โยทองยศ, ปราณี สวัสดสรรพ์. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม; 2557.

อำพล จวบศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2559.

ชิราวุธ ปุญณวิช, ศิระปรุฬห์ ทองเทพ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ในนักเรียนอายุ 10–14 ปี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2556; 5(1): 26 – 36.

ปรียาพร สีจันทร์, ศรีสุดา เจริญดี, ณรงค์ ใจเที่ยง, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักสุขขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการของวัยรุ่นในจังหวัดพะเยา. วารสารกฏหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2562; 5(1): 31 – 40.

ธาราพรศ์ ศรีบุญญารักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02