ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ติดเตียง

ผู้แต่ง

  • ปุณยนุช จี๋มะลิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ธณกร ปัญญาใสโสภณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้ป่วย, โรคหลอดเลือดสมอง, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ป่วยติดเตียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ติดเตียงศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 30 ราย เป็นกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยที่สร้างขึ้น และผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 30 ราย เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมตามปกติโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วย และแบบประเมินคุณภาพชีวิตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.852 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (paired, independent samples  t-test)โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01  

ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ติดเตียง กลุ่มทดลอง มีคุณภาพชีวิต ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิต ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก . นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

เพชรรุ่ง เดชบุญญจิตต์. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2560, 5(2): 1-11.

Roth EJ HR. Physical medicine and rehabilitation. Rehabilitation of stroke symdrome 1996, pp. 117-60.

สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย. Neuropsychiatric Aspects of stroke. In: นิจศรี ชาญณรงค์ editoe. การดูแลภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

ศุภวรรณ มโนสุนทร. รายงานการพยากรณ์โรคหลอดเลือดสมอง. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จากhttp://www.interfetp thailand.net/forecast/fifiles/report_2014/report_2014_no20.pdf.

กฤษณา พิรเวช. การดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

อรุณี ชุณหบดี ธิดารัตน์ สุภานันท์ โรชินี อุปรา สุนทรีภรณ์ ทองไสย. ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2556; 24(1): 1-9.

นงนุช เพ็ชรร่วง ปนัดดา ปริยทฤฆ วิโรจน์ ทองเกลี้ยง. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในศูนย์สุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2556; 14(1): 25-34.

ขวัญตา บุญวาศ ธิดารัตน์ สุภานันท์ อรุณี ชุนหบดี นิมัศตูรา แว. ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; (1): 205 -16.

บุษยมาส บุศยารัศมี. ความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตเทศบาลนครนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 2560; 37(2): 192-200.

Corry M, While A, และ Neenan K Smith V. A systematic review of systematic reviews on interventions for caregivers of people with chronic conditions. Leading Global Nursing Research 2015; 71(4): 718 - 34.

กรฐณธัช ปัญญาใส. ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านสาธารณสุข. เอกสารประกอบการสอน คณะสาธารณสุขศาสตร์เทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา; 2560.

ธารินทร์ คุณยศยิ่ง. การพิ่งพาของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาระการดูแล การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ,วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณทิต สาขาวิชาการผู้สูงอายุ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

ภัทริกา ปัญญา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อระดับการสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในภาวะพึ่งพิง. วารสาร มฉก. วิชาการ 2562; 23(2): 242-53.

House, J. S. Work stress and social support. Reading, MA: Addison- Wesley; 1981.

The WHOQOL Group.Development of the WHOQOL: Rationale and current status. International Journal of Mental Health; 1994: pp. 24-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02