บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย

ผู้แต่ง

  • สมตระกูล ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร
  • สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์
  • ธิติรัตน์ ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร

คำสำคัญ:

บทบาท, อาสาสมัคร, สาธารณสุขไทย

บทคัดย่อ

บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย วิธีการทบทวนเอกสาร เป็นการเก็บข้อมูลโดยสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการสืบค้นจากบทความวิจัย บทความวิชาการ รายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่าง พ.ศ. 2550 – 2563 กำหนดเกณฑ์คัดเข้าเป็นเอกสารวิชาการ งานวิจัย และเอกสารที่เกี่ยวข้องและนำมาสังเคราะห์ผลการวิจัย ได้จำนวน 84 บทความ

ผลการวิจัย จากการทบทวนบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย ในบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย พบว่า การแนะนำ เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รวมทั้งการให้สุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การดูแล ตลอดจนการติดตาม ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสาธารณสุข การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งบางครั้งมีงานเฉพาะกิจที่เสริมบทบาทหน้าที่ที่ต้องบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข ควรนำผลการศึกษา ไปใช้ในการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครไทย รวมถึงสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทหน้าที่ที่เป็นจริงและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย

References

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน.หลักสูตรการอบรม อสม. เชี่ยวชาญ พ.ศ. 2555. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน.นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน.โครงการพัฒนาความเป็นเลิศและสร้างเสริมแรงจูงใจในการจัดการสุขภาพชุมชนของ อสม. ปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กลุ่มแผนงาน.โครงการขับเคลื่อนนโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำครอบครัว 3 คน ปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Mogalakwe, M. 2006. The use of documentary research methods in social research. African sociological review. 10 (1): 221 – 30.

สิริญา ไผ่ป้องและสมเดช พินิจสุนทร.ความรู้และบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขระดับชุมชน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 4(2) เมษายน-มิถุนายน : 291 – 305.

ปรางค์ จักรไชย อภิชัย คุณีพงษ์ และวรเดช ช้างแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.) ในทีมครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560; 31(1) มกราคม – เมษายน : 16 – 28.

ดวงพร กตัญญุตานนท์ อมลวรรณ อนุการ เบญจมาศ โนวัฒน์ และคณะ. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 21(42) มกราคม –มิถุนายน : 1 – 12.

พีระพล ศิริไพบูลย์. แนวทางการพัฒนาบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข ต่องานสาธารณสุขมูลฐานกรณีศึกษา เขตพญาไท. วารสารวิทยบริการ. 2553; 21(2) พฤษภาคม – สิงหาคม : 30 – 44.

สิทธิพร เกษจ้อย. บทบาทการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. ใส่ชื่อวารสารฯ 2560; 4(1) เมษายน – มิถุนายน 2560 : 163 – 73.

นวเรศ เหลืองใส และชิดชนก เรือนก้อน. ผลการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเรื่องร้านชำคุณภาพซึ่งปลอดยาห้ามจำหน่าย. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562; 11(3) กรกฎาคม – กันยายน : 638 – 47.

จงลักษณ์ งึ้มนันใจ. สมรรถนะแห่งตนต่อการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน [การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2550.

สุดปรีชา เตียติวิริยะกุล. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น; 2559.

อธิชนันท์ บุญธรรม. แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอชาติระการ จังหวัดพิษณุโลก. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 22 ธันวาคม 2558. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2558.

ประภาส อันตา และจรัญญู ทองอเนก. ผลของการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการเยี่ยมบ้านตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2556; 20(1) ตุลาคม 2555 – มีนาคม 2556 : 1 – 8.

สมยศ ดีรัศมี. บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด เอกสารประกอบการดำเนินงานการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหล่มเก่า เพชรบูรณ์; 2559.

ปารณัฐ สุขสุทธิ์. อาสาสมัครสาธารณสุข : ศักยภาพและบทบาทในบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปคลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2550.

ยุพิน หงส์วะชิน อำนวย ปาอ้าย เพ็ญนภา กุลนภาดล และคณะ. การพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ 2556; 5(2) กรกฏาคม – ธันวาคม : 61 – 78.

สุชาดา เทศดี. การพัฒนาชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัยสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม] กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

สมจิตร ฟุ้งทศธรรม. หน้าที่ความรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์ ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน. สงขลา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพประชาชน; 2551.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน.คู่มือ อสม. นักจัดการสุขภาพชุมชน.นนทบุรี : กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2562. สงขลา : กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลสงขลา; 2562.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ.บทบาท อสม. กับการดูแลผู้สูงอายุ.นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

ฝ่ายพัฒนาสังคม. คู่มือการประชาสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เอกสารแผ่นพับ อสม. นราธิวาส : สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส; 2559.

ราชกิจจานุเบกษา. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 20 มีนาคม 2563 เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 33ง; 2563.

ศุภัคชญา ภวังคะรัต. A Study of the Capability of Village Health Volunteer Leaders, jornal of human 2020; 10(2) : 1 – 20.

Van Lerberghe W.The world health report: primary health care : now more than ever. World Health Organization; 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02