ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • จินทภา เบญจมาศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นาฎนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด-19 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด-19 ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) และสถิติการถดถอยพหุลอจีสติก (multiple logistic regression)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 59.41 อายุเฉลี่ย 15.59 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ระดับชั้นละ 62 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) 3.51 จำนวนเงินที่ได้มาโรงเรียนมีความเพียงพอ ร้อยละ 86.02 แหล่งที่ได้รับข้อมูลมากที่สุดจากอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 91.67 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า อายุ (Adjust OR = 1.24; 95%CI: 1.07 – 1.43; p- value=0.004) ความเพียงพอของจำนวนเงินที่ได้มาโรงเรียน (Adjust OR = 2.18; 95%CI: 1.13 – 4.22; p-value=0.020) การประเมินข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 (Adjust OR = 2.04; 95%CI: 1.03 – 4.04; p-value=0.040)  และการประยุกต์ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 (Adjust OR = 1.95; 95%CI: 1.14 – 3.33; p-value=0.015) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ระดับดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า การที่จะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ได้เหมาะสมนั้น ควรเน้นการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาการประเมินข้อมูลและการประยุกต์ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ผ่านกิจกรรม สื่อ หรือช่องทางต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักถึงการป้องกันโรควิด-19 ได้

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลก. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก www. ddcprotal. ddc.moph.go.th.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. [ออนไลน์].(2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก www.ddc.moph.go.th.

คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 อย่างรวดเร็ว. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://healthydee.moph.go.th/view_article .php.

World Health Organization. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) [Online]. (2020). [Retrieved August 11 2020]. from http://www.who.int/health-topics/ coronavirus.

กระทรวงศึกษาธิการ. เลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 เป็นวันที่ 1 มิถุนายน หนีวิกฤตโควิด-19. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www. moe.go.th

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียน สถานศึกษา.[ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 13 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph. go.th/viralpneumonia/file /introduction/ introduction170563.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ผล สำรวจพฤติกรรมคนไทยกับมาตรการ COVID-19. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 13 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia /survey.php.

Sorensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, et al. Health literacy and public health: a systematic review and intergration of definitions and models. BMC Public Health 2012; 12: 80.

พรพญา เตปิน วราภรณ์ บุญเชียง และศิริตรี สุทธจิต. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคมือ เท้า ปากของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. ลำปางเวชสาร 2561; 39(2): 72 – 8.

สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์. ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดกาฬสินธุ์. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.kalasin.go.th

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตง นอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/ 247585/168178.

Sorensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., et al. Measuring health literacy in populations: illuminationg the design and development process of the European Health Literacy Survey Questionnaire (HLS-EU-Q). BMC Public Health 2013; 13: 948.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. A simple method of sample size calculation

for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998; 17: 1623 – 634.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสําหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น:

ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

Best, J. W. Research in education. New jersey: Prentice-Hall; 1981.

กชกร สมมัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของ ผู้รับบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระ นารายณ์มหาราช. วารสารสุขศึกษา 2557; 37(126): 9 – 21.

ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย 2561; 8(1): 116 – 23.

กรกนก ลัธธนันท์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2562; 35(1): 277 – 89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02