การประเมินผลการจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รัชนี อนุตรวิชา สำนักงานสาธารรสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ความพึงพอใจ ความต้องการ และประเมินผลการจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 348 คน มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 45 คน และผู้รับนโยบายไปปฏิบัติ จำนวน 228 คน การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการการจำแนก แยกแยะ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้รับเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรูปแบบบริการที่จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อผู้มีสิทธิ และบริการที่จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงาน (2) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความพึงพอใจต่อการจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับพึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{x} =4.15, S.D. =.68) ส่วนความต้องการโดยภาพรวมที่ระดับต้องการมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.29, S.D. =.76) (3) การประเมินผลการจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า (3.1) ด้านบริบท การจัดสรรเงินการจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภายในหน่วยงานเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงิน fixed cost (3.2) ด้านปัจจัยนำเข้า การบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชัดเจนมีความชัดเจนในการดำเนินงาน (3.3) ด้านกระบวนการ ผู้นำไปปฏิบัติสามารถนำเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม (4.4) ด้านผลลัพธ์ การบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ การประเมินผลโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับประสิทธิภาพดีมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.21, S.D. =.69) ส่วนคู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สามารถเป็นต้นแบบในการปฏิบัติงานด้านการเงินได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรจัดควรจัดอบรมเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการเงินการคลังให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

References

สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545. [ออนไลน์]. (2545). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : http:// web. Krisdika.go.th/ data/law/law2/%CB29/%CB29-20-2545-a0001.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2563.

กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. การปฏิบัติงานด้านการเงิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2562. สำเนาอัด.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York : Harper and Row; 1973.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ (fixed cost) ในการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559. สำเนาอัด.

ยุบล เบ็ญจรงคกิจ. การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์ จำกัด, 2542.

รุ่งเรือง แสนโกษา เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสมเจตน์ ภูศร. รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเครือข่ายเขตบริการสุขภาพที่ 7 กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2557; 8(2) พฤษภาคม-สิงหาคม 2557 : 156 – 168.

อรรคเดช นามโนรินทร์. การประเมินระบบการควบคุมภายในทางด้านการเงินและการบัญชีของเทศบาลตำบลในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. [หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2558.

พีรดา จงสถิตรักษ์. การประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานควบคุมภายในของงานการเงินและบัญชี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่11. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02