การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อนุพันธ์ ประจำ สำนักงานสาธารณสุขศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การดูแลต่อเนื่อง, ผู้ป่วยวัณโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค กลุ่มประชากร คือ การคัดเลือกกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่มอแกน ผู้ป่วยวัณโรค ญาติผู้ป่วยวัณโรค รวม 835 คน ในการสนทนากลุ่ม คือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ อาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลาการวิจัย ระหว่างเดือน พฤษภาคม 2561 – มกราคม 2562 เครื่องมือ ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินโครงการ และแบบประเมินความพึงพอใจ การหาค่าความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาของแบบสนทนากลุ่ม โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามจากค่า Cronbach’s Alpha เท่ากัย 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test dependent samples)

ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โครงการย่อย คือ ด้านบริบทมีความเหมาะสมมาก ด้านปัจจัยนำเข้า มีความพร้อมมาก ด้านกระบวนการมีการปฏิบัติมาก และด้านผลผลิตมีคุณภาพมาก มีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค ระหว่างก่อนกับหลังการพัฒนา พบว่า พฤติกรรมการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค ในภาพรวมก่อนและหลังการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการจัดกิจกรรมปฏิบัติการ ทำให้การดูแลผู้ป่วยวัณโรคมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การพยาบาลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางจึงเป็นหัวใจสำคัญ เป็นการดึงครอบครัวมามีส่วนร่วมในการดูแล สมาชิกในครอบมีความผูกพันใกล้ชิดกัน ดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้การรักษาประสบผลสำเร็จ ผู้ป่วยและครอบครัวมีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

World Health Organization. OUFSOBUJPOBM MBTTJÇDBUJPO PG .FOUBM BOE FIBWJPVSBM JTPSEFST. Geneva: WHO; 2016.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การควบคุมวัณโรคแห่งชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน์; 2554.

WHO, World Health Organization. Advocacy. Communication and social mobilization for TB control: A guide to developing knowledge attitude and practice surveys. Geneva: The Organization; 2009.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Guideline for Preventing the transmission of Mycobacterium tuberculosis in Health Care Setting. Morbidity and Mortality weekly Report 2005; 54 (17) : 13 – 25.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคผู้ใหญ่ พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคผู้ใหญ่ พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.

ปรียา สินธุระวิทย์ และวันเพ็ญ ปัณราช. การพัฒนาแนวทางการควบคุมวัณโรคในชุมชนของโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2555.

รุ่งทิพย์ สุจริตธรรม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยวัณโรคที่มารับการรักษาวัณโรค ณ โรงพยาบาลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ . เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

ชญาณิษฐ์ ปัญญาทอง.การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลอุดรธานี. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02