ปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีน โทลูอีน เอทธิลเบนซีน และไซลีน (บีเทค) ทางอากาศที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและระบบประสาทของผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง

ผู้แต่ง

  • ชนพร พลดงนอก มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ฌาน ปัทมะ พลยง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

BTEX, ระบบทางเดินหายใจ, พฤติกรรมระบบประสาท, ผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (analytical – cross sectional study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสาร Benzene, Toluene, Ethylbenzene และ Xylene (BTEX) ในอากาศที่ระดับลมหายใจและผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและพฤติกรรมระบบประสาทของผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มพนักงานสำนักงานในอาคารปิด กลุ่มละ 25 คน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม เครื่องสไปโรมิเตอร์เพื่อทดสอบสมรรถภาพปอด และอุปกรณ์ชนิด organic vapor monitor (3M 3500) เพื่อประเมินสาร BTEX วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปอร์เซ็นไทล์ ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและสูงสุด สำหรับสถิติอนุมานใช้ mann-whitney u-test ผลการศึกษา พบว่า ผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างมีระยะเวลาทำงาน 5.9 ± 1.2 วัน/สัปดาห์ ขับขี่ 8.8 ± 2.2 ชั่วโมงต่อวัน มีระยะทางในการขับขี่รับจ้าง 115.4 ± 58.6 กิโลเมตรต่อวัน สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจเป็นบางครั้ง ร้อยละ 24.0 ผลตรวจวัดปริมาณสาร BTEX ในอากาศพบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงาน ACGIH กำหนด สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพ พบว่า ผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเกิดผลกระทบต่อสุขภาพแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในอาการระบบทางเดินหายใจและค่าสมรรถภาพปอด ได้แก่ อาการไอมีเสมหะ หายใจถี่เมื่อเดินพื้นราบหรือเอียงเล็กน้อย ค่าสมรรถภาพปอด %FVC และ FEV1/FVC ในพฤติกรรมทางระบบประสาท ได้แก่ ความรู้สึกความอ่อนแรงของแขนและเท้า เกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีความเชื่องช้าในการทำกิจวัตรประจำวัน และมีคะแนนพฤติกรรมทางระบบประสาทมากกว่ากลุ่มทำงาน บทสรุปผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างรับสัมผัสสาร BTEX ในปริมาณต่ำ แต่มีระยะเวลาอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดยาวนานและทั้งหมดไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ การป้องกันระบบทางเดินหายใจเป็นประจำ จึงเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ ข้อแนะนำควรมีการสื่อสารหรือเพิ่มความรอบรู้ให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างตระหนักในสุขภาพจากความเสี่ยงการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจส่วนบุคคลเป็นประจำและถูกชนิด

References

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2559. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อวันที่10 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http:/infofilepcd.go.th/mgt/DraftThailand Pollut2559.pdf.html.

นันทพร พัทรพุทธ. ผู้ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้างกับความเสี่ยงการรับสัมผัสสารเบนซีนในจังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2548; 1(1): 75 – 8.

ภคนนท์ พรหมสุวรรณ. การตรวจวัดและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนจากสาร BTEX บริเวณป้ายรถโดยสารในกรุงเทพมหานคร. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

รัตยาภรณ์ ศิริวัน ปรีชา ลอเสรีวานิช มธุรส ทิพยมงคลกุล สุพพัต ควรพงษากุล หทัยรัตน์ การีเวทย์. การสัมผัสสารเบนซีน โทลูอีน เอธิลเบนซีน และไซลีน (BTEX) ในผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้าง. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10; 2556.

Fandi NFM, Mansor WAW, Jalaludin J. Work exposure to traffic air pollutants (PM10, Benzene, Toluene, and Xylene) and respiratory health implications among urban traffic policemen in Klang Valley, Malaysia. Mal J Med Health Sci 2018; 14(2): 63 – 70.

Kaukiainen A, Akila R, Martikainen R, Sainio M. Symptom screening in detection of occupational solvent -related encephalopathy. International Archives of Occupational and Environmental Health 2009; 82(1): 343 – 55.

International Agency for Research on Cancer (IARC). Benzene. Volume 120. World Health Organization; 2018.

ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. การประเมินการรับสัมผัสสารเบนซีนและรูปแบบการใช้ชีวิตของพนักงานขับรถโดยสารธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารธรรมศาสตร์ เวชสาร 2556; 13(1): 52 – 8 .

ฌาน ปัทมะ พลยง และมริสสา กองสมบัติสุข. โรคปอดจากการประกอบอาชีพและการทดสอบสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2559; 16(1): 16 – 36.

ฌาน ปัทมะ พลยง อนามัย เทศกะทึก และนันทพร ภัทรพุทธ. เปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเบนซีนและผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพริมถนนในเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2558; 8(28): 7 – 20.

Kaukiainen A, Hyvarinen HK, Akila R, Sainio M. Symptoms of chronic solvent encephalopathy: Euroquest questionnaire study. NeuroToxicology 2009; 30(6): 1187 – 194.

Kanjanasiranont N, Prueksasit T, Morknoy D. Inhalation exposure and health risk levels to BTEX and carbonyl compounds of traffic policeman working in the inner city of Bangkok, Thailand. Atmospheric Environment 2017; 152(3): 111 – 20.

พรรณิภา สืบสุข อัจฉริยา พงษ์นุ่มกุล เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคปอดจากสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2557; 31(1): 48 – 58.

กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์ปัญหามลพิษในอากาศในปัจจุบัน. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www. pcd.go.th/Info_ serv/pol_maptapoot_ airVocs _yBkk.cfm

American conference of governmental industrial hygienists (ACGIH). TLV and BEIs. United States of America; 2019.

Abubakar MB, Abdullah WZ, Sulaiman SA, Uboh FE, Ang BS. Effect of honey supplementation on toxicity of gasoline vapor exposure in rats. International Journal of Applied Research in Natural Products 2013; 6(4): 16 – 22.

อนุชา ภู่กลาง นลธวัช ทองตื้อ จงเจตน์ จงสมจิตร ฌาน ปัทมะ พลยง. ปัจจัยที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจจากการทำงานชุบทองแบบครัวเรือนของผู้ประกอบอาชีพในชุมชนเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2562; 5(2): 108 – 20.

Godderis L, Dours G, Laire G, Viaene M. Sleep apneas and neurobehavioral effects in solvent exposed workers. International Journal of Hygiene and Environmental Health 2011; 214(1): 66 – 70.

Mousavie SM, Shabgard Z, Moradirad R, Khatooni E, Yazdanirad S. A survey of neurobehavioral symptoms among operational workers exposed to mixture of an organic solvent (BTEX): a case study in an oil refinery, PJMHS 2019; 13(2): 577 – 81.

มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. พิษจากตัวทำละลาย. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https:// drive.google.com/file/d/12nOKHFbhwtvRw7_FmpoRy1zmkbnxQSiH/view

ศศิธร เรืองตระกูล ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ และเดซี่ หมอกน้อย. การประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารบีเทคผ่านทางการหายใจของพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 2556; 9(1): 1 – 20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28