เครื่องมือประเมินความปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอด : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ:
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, เครื่องมือประเมินความปวด, ระยะที่หนึ่งของการคลอดบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือประเมินความปวดระยะที่หนึ่งของการคลอด ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ ขั้นกระบวนการ (the process) และผลผลิต (Product) ขั้นกระบวนการใช้ฐานข้อมูล Google วันที่ 20 มีนาคม 2563 คำสำคัญ (key word) คือ เครื่องมือประเมินความปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอด ผลผลิต พบเอกสารเกี่ยวข้อง 19 เรื่อง ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ.2546 – 2561 เป็นบทความวิชาการ 4 เรื่อง งานวิจัย 14 เรื่องและกรณีศึกษา 1 เรื่อง ค้นตำรา 1 เล่ม ใช้เกณฑ์ Joanna Briggs Institute (JBI) แบ่งระดับ พบว่าจำนวนวรรณกรรมที่นำมาทบทวนนั้นมีงานวิจัยจำนวน 14 เรื่อง มีระดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ 2 และบทความวิชาการ จำนวน 4 เรื่อง ตำรา 1 เรื่อง มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ 4 เนื้อหานำเสนอเกี่ยวกับความหมาย สาเหตุและทฤษฎีความปวด ในระยะที่หนึ่งของการคลอด แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะปากมดลูกเปิดช้าและระยะปากมดลูกเปิดเร็ว เครื่องมือประเมินความปวดมี 2 แบบคือ ประเมินความปวดแบบด้านเดียวและแบบหลายด้าน พบใช้มากแบบด้านเดียวชนิดมาตรวัดแบบตัวเลข (numerical rating scale : NRS) ดัดแปลงโดยพรนิรันดร์ อุดมถาวรสุข และ Wong Baker Face Scale ใช้ในระยะปากมดลูกเปิดเร็วเป็นส่วนมาก เครื่องมือประเมินความปวดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพยาบาลเพื่อช่วยประเมินและปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลบรรเทาความปวด อาจทำให้ผู้คลอดรำคาญที่ต้องคอยตอบคำถาม ซึ่งเป็นสิ่งที่พยาบาลต้องพึงตระหนัก ในการทบทวนวรรณกรรมพบว่างานวิจัยทั้งหมดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเครื่องมือที่นำมาใช้ก็ดัดแปลงมาสิ่งที่ควรจะมีคือเครื่องมือที่สร้างโดยนักวิจัยของไทยให้เหมาะสมกับบริบทคนไทยและงานวิจัยเชิงคุณภาพ
References
ศศิธร เตชะมวลไววิทย์. ความปวดและการจัดการความปวดของมารดาในระยะที่หนึ่งของการคลอด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558; 1: 114 – 24.
พิณวดี พานทอง. ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนการคลอดแบบสอนแนะต่อความเจ็บปวดของการคลอดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของหญิงครรภ์แรก [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
จิราวรรณ คล้ายวิเศษ ศรีสมร ภูมนสกุลและจรัสศรี ธีระกุลชัย. ผลของการนวดและ/หรือการประคบร้อน ต่อระดับความปวดในระยะปาก มดลูกเปิดเร็ว และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. Rama Nurse Journal 2559; 22: 263 – 76.
ธัญญารัตน์ กุลณีจิตต์เมธี. ความปวดและการจัดการความปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด. ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร. 2560; 6: 158 – 65.
ศศิธร พุ่มดวง. การลดปวดในระยะการคลอดโดยไม่ใช้ยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: บริษัทอัลลายด์เพรส; 2551.
วิลาวัลย์ ไทรโรจน์ กัลยา วิริยะ วิรีภรณ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ และคณะ. ผลของการประคบร้อนและเย็นต่อการลดปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด. รายงานวิจัยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ; 2553.
กิตติมา ด้วงมณี เยาวเรศ สมทรัยพ์ ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์ และคณะ. ผลของการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อความเจ็บปวดและเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วในหญิงระยะคลอด. วารสารมหาวิทยาลัยสงขลา- นครินทร์ 2560; 1: 35 – 49.
หญิง แท่นรัตน์ พิริยา ศุภศรีและวรรณทนา ศุภสีมานนท์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดต่อคะแนนความเจ็บปวดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครั้งแรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560; 2: 64 – 72.
รังสินี พูลเพิ่ม อุบลรัตน์ ระวังโค และขวัญเรือน ด่วนดี. ผลของการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบหน้าท้องต่อการลดความเจ็บปวดและการลดระยะเวลาของระยะปากมดลูกเปิดเร็วในมารดาครรภ์แรก. วารสารพยาบาลทหารบก 2556, 4: 67 – 76.
พรนิรันดร์ อุดมถาวรสุข. ผลของการพยาบาลอย่างมีแบบแผนต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของสตรีมีครรภ์ระยะคลอด และเจตคติที่มีต่อการคลอด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2528.
วิภารัตน์ สอดส่อง. ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอดต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การคลอดของมารดาครรภ์แรก [วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.
Perry, E., Hockenberry, J., Lowdermilk, L., & Wilson, D. Maternal child nursing care. Maryland Heights, MO: Mosby; 2010.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว