ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพในการดูแลเท้ากับพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • อนุชา ไทยวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความแตกฉานทางสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้า

บทคัดย่อ

ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการดีขึ้นคือมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีควบคู่กับการรักษาการมีความแตกฉานทางสุขภาพจะทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเอง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีโรคทางจิต ตอบแบบสอบถามได้ ได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้นอนรับการรักษาในโรงพยาบาลในช่วง 1 เดือน โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 81 ราย เครื่องมือวิจัย คือ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามความแตกฉานทางสุขภาพ และ (3) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความแตกฉานด้านการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (gif.latex?\bar{x} =44.78, S.D.=5.86) พฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ( gif.latex?\bar{x}=85.11, S.D.=7.72) อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าพฤติกรรมการดูแลเท้าโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความแตกฉานด้านการดูแลเท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (r=.530; p=.001) โดยสรุป พฤติกรรมการดูแลเท้าโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความแตกฉานด้านการดูแลเท้า ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพควรสนใจที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความแตกฉานทางสุขภาพ

References

กันตพงษ์ ปราบสงบ และรัตนา สำโรงทอง. รูปแบบการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ในจังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา; 2560.

ขนิษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน คลินิกโรคเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลแพร่ [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลผู้สูงอายุ ]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2552.

ชลธิรา เรียงคำ ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ อัครเดช เกตุฉํ่า และอภิรดี ศรีวิจิตรกมล. ความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองอายุและความสามารถในการมองเห็นใน การทำนายพฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559; 34(4): 35 – 46.

ณัฏฐินีจารุชัยนิวัฒน์. การพัฒนาแบบประเมินภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนนันท์. ตำราการป้องกันและรักษาโรคเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ร้าน ทริคธิงค์; 2556.

ดวงใจ พรหมพยัคฆ์ มณฑนา อัจฉริยศักดิ์ชัย และ ศักดา เปรมไทยสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(2): 353 – 61.

ธัญชนก ขุมทอง วิราภรณ์ โพธิศิริ ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559; 3(6): 67 – 85.

ประไพพรรณ ศิริพันธ์บุญ นูร์ไอนี คลายนากาญจนา อุดมวงศักดิ์ และธัญญา ว่องไวรัตนกุล. พฤติกรรมการดูแลเท้าและผลการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลนครยะลาที่มาใช้บริการ ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลศูนย์ยะลา. [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www. yrhyala.com/yrhres.

ยุพิน ภูวงษ์, สมเดช พินิจสุนทร. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลชุมชนคัดสรรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 2(3): 311 – 19.

ลำไย แสนทรัพย์. การวิเคราะห์การปฏิบัติการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้และครอบครัว : รายงานกรณีศึกษา ต.จุมพล อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย [การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์ และวิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรม การดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2561; 24(2): 34 – 51.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 7 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https: //www.dmthai.org/index. php/knowledge/healthcare-providers/cpg.

สุขมาพร พึ่งผาสุก นภาพร วาณิชย์กุล ทิพา ต่อสกุลแก้ว และ เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธ์. ความสัมพันธ์ของความแตกฉานทางสุขภาพ ผลจากการได้รับความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพและอิทธิพล ทางสังคม กับผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ/หรือความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล 2560; 32(2): 111 – 25.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 25(3): 43 – 54.

อรนุช ศรีสารคาม. เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลเท้าในบุคคลที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีแผลกับไม่มีแผลที่เท้า [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28