สถานการณ์สุขภาพเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม T60.0 อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วลัญช์ชยา เขตบำรุง มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • มะลิ โพธิพิมพ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จิราภรณ์ ประธรรมโย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

สถานการณ์สุขภาพเกษตรกร, สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม T60.0

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาพเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม T60.0 ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงพื้นที่เสี่ยงทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดพื้นที่ปลูกกับระยะเวลาการปลูกและขั้นตอนการปลูกผักกับขั้นตอนการบำรุงดูแลผัก ที่ส่งผลต่อสุขภาพเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประชากร คือ เกษตรกรปลูกผักในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,716 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 333 คน โดยเปิดตาราง Taro Yamane ระดับความคาดเคลื่อน ร้อยละ 5 โดยการเลือกแบบแบ่งชั้น จากผู้แทนครัวเรือน ๆ ละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน มีระดับความตรง 0.5 ค่าความเที่ยง 0.83 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกผักส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ55.13 อายุ 51 – 60 ปี ร้อยละ 33.33 สถานภาพสมรส ร้อยละ 80.77 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 68.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 4,001 – 6,000 บาท ร้อยละ 39.74 สถานะการเงินพอใช้ ร้อยละ 73.93 ขนาดพื้นที่ปลูก 1 – 5 ไร่ ร้อยละ 53.41 พื้นที่เช่าปลูก ร้อยละ 56.41 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ อยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่น ร้อยละ 90.60 และเป็นผู้ฉีดพ่นเอง ร้อยละ 39.74 ผลการตรวจระดับเอนไซม์คลอรีนเอสเตอเรส อยู่ในระดับเสี่ยง ร้อยละ 42.30 ระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 33.00 แผนที่พบว่า 3 ตำบล มีความเสี่ยงระดับ ไม่ปลอดภัย ได้แก่ ตำบลปรุใหญ่ ตำบลในเมือง และตำบลพุดซา ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดพื้นที่ปลูกกับระยะเวลาการปลูกมีความสัมพันธ์อยู่ในทิศทางลบ (r=-0.548) ขั้นตอนการปลูกกับขั้นตอนการบำรุง ดูแล ผัก มีความสัมพันธ์อยู่ในทิศทางบวก (r=0.329) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ปรกชล อู๋ทรัพย์. เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักผลไม้. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก www.ipcs.fda.moph.go.th.

David Pimentel. Amounts of Pesticides Reaching Target Pests: Environmental Impacts and Ethics, Journal of Agricultural and Environmental Ethics 1995; 5(8): 17 – 29.

มูลนิธิชีววิถี. สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและความเสื่อมโทรมในระบบนิเวศ. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.biothai.net/node/11698

ชยุตม์ พินิจค้า. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการประมาณผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaipan.org/project /181

ปรีชา เปรมปรี. สถานการณ์และความเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชรหัส T60.0-T60.9.นนทบุรี : สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.[ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www. thaipan.org/project/181

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานสุขภาพประจำปี 2557. [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก http:// www. korathealth .com

Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, New York: Harper and Row 1976; 4(6): 178 – 84.

วลัญช์ชยา เขตบำรุง. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของเกษตรกรและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปลูกผัก อำเภอเมือง. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล; 2560.

จันนา จายาสุมานา. ศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้ไกลโฟเสทและบทเรียนการแบนไกลโฟเสทในประเทศศรีลังกา. ประเทศศรีลังกา: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรุจราช; 2559.

ปรีชา เปรมปรี. สถานการณ์และความเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชรหัส T60.0-T60.9. นนทบุรี : สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28