ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของบุคลากรสายวิชาชีพหลักในโรงพยาบาลสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วีย์สุดา ญวนแม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความพึงพอใจ, ความต้องการ, แนวโน้มการลาออก, บุคลากรสายวิชาชีพหลัก

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจ และความต้องการที่มีต่อการดำเนินงานของบุคลากรสายวิชาชีพหลักในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของบุคลากรสายวิชาชีพหลักในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา (3) หาแนวทางการลดอัตราการลาออกของบุคลากรสายวิชาชีพหลักในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยเป็นบุคลากรสายวิชาชีพหลัก จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณนำเสนอในรูปแบบร้อยละ จำนวน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดย Pearson Correlation ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ นำเสนอโดยการจำแนก แยกแยะ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลตามแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า (1) บุคลากรสายวิชาชีพหลักมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก และความต้องการต่อการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกด้านความผูกพันต่อองค์กรโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก และด้านแรงจูงใจในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการที่มีต่อการดำเนินงานของบุคลากรสายวิชาชีพหลัก คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร มีความสัมพันธ์กับแนวโน้ม การลาออกของบุคลากรสายวิชาชีพหลัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของบุคลากรสายวิชาชีพหลักและแรงจูงใจในการทำงาน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการลาออกของบุคลากรสายวิชาชีพหลัก (3) แนวทางที่ทำให้อัตราการลาออกของบุคลากรสายวิชาชีพหลักที่ลดลงประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ หรือ Q2R Model ดังนี้ (3.1) Quality of life คือ บุคลากรสายวิชาชีพหลักต้องมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี (3.2) Relationship of organization คือ องค์กรต้องสร้างความผูกพันองค์กรให้กับบุคลากรสายวิชาชีพหลัก (3.3) Requirement คือ องค์กรต้องให้ความสำคัญกับความต้องการในการดำเนินงานของบุคลากรสายวิชาชีพหลัก

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ 14 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link. php?nid=6422

กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ประวัติสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2557.สำเนาอัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. การบริหารและพัฒนากำลังคนโรงพยาบาลที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2562.สำเนาอัด.

พรชัย จันศิษย์ยานนท์ ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์ และพูลศักดิ์ โกสิยวัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกจากราชการของบุคลากรทางการแพทย์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสมาคมนักวิจัย 2562; 24(1) มกราคม – เมษายน: 201 – 13.

วาโย อัศวรุ่งเรือง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของแพทย์จากสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2561.

สุพรรษา พุ่มพวง. ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. นครปฐม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์; 2559.

อิงครัต แพททริคค์ สีเขียวสุขวงกฎ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกของแพทย์ในระบบราชการของโรงพยาบาลในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 5(1) มกราคม – มิถุนายน: 183 – 209.

กนกวรรณ สีมา ภูษิตา อนิทรประสงค์ และจรรยา ภัทรอาชาชัย. ความตั้งใจออกจากวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร. วารสารกองการพยาบาล 2558; 43(2) กันยายน – ธันวาคม: 142 – 58.

จิราภรณ์ กองจันทร์ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และไกรชิต สุตะเมือง.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลเวชธานี. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ 2557; 8(12): 1 – 16.

วรรษพร อากาศแจ้ง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของคนเก่งในระบบราชการ [วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์; 2556.

Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication; 1973.

กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. จำนวนบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2561. สำเนาอัด.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2538.

ยุบล เบ็ญจรงคกิจ. การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์ จำกัด; 2542.

ธีระศักดิ์ กุสลานนท์. การรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2545.

Steers, R.M. Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers; 1977.

กษมา ทองขลิบ. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรกับ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของโรงเรียนราชินีบน. [ออนไลน์]. (2550). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://research.rdi. ku.ac.th.

Herzberg, Frederick. A Harvard Business Review Paperback: Motivation. Massachusetts : Harvard Business School; 1991.

Herzberg, F., Mausner, B. & Snyderman, B.B. The motivation to work. New York : John Wiley; 1959.

ถนัดกิจ มาตย์นอก. การคงอยู่และการลาออกของแพทย์ที่ปฏิบัติงานด้านรังสีวิทยาในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28