กระบวนการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ, การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (research and development) กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนา คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานชมรมผู้สูงอายุ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 156 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผล คือ ผู้สูงอายุในพื้นที่ ทั้งหมด 9 อำเภอ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ คัดเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มเชิงช่วงชั้นอย่างเป็นสัดส่วน จำนวน 398 คน เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสอบถาม แบบคำถามสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการในการดูแลสุขภาพในระดับมาก ต้องการสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกเยี่ยม ต้องการอาหารที่มีประโยชน์ ต้องการให้มีศูนย์กลางความรู้ในชุมชน การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (2) การสนับสนุนมีส่วนร่วม (3) พัฒนากระบวนการดำเนินงาน (4) สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ ผลลัพธ์ในการพัฒนาศักยภาพ พบว่า เครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการดำเนินงานร่วมกันของเครือข่าย มีระบบฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือเป็นปัจจุบัน ทุกเครือข่ายสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการดำเนินงานได้ ชุมชนสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพชีวิตผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้กรอบบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2554.
สำนักงานสารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์.สรุปผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2560. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์; 2560.
เจตฑถ์ ดวงสงค์ถ์ ธีระ เตชะมณีสถิต และ ปฐม มณีโรจน์. การศึกษาและพัฒนาองค์กรกิจการเพื่อสังคมด้านเกษตรอินทรีย์ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษาเรนโบว์ฟาร์ม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 2558; 2: 140 – 64.
Pender, N. J. Health Promotion in Nursing Practice. (3rd ed.). NewYor : Appleton & Lange; 1996.
ศราวุฒิ บัณฑิตเมธาพงศ์.การพัฒนาแผน ยุทธศาสตร์สวัสดิการผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเทศบาล นครพิษณุโลก. วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2555; 2: 91 – 102.
กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. สวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสาร เทคโนโลยีภาคใต้ 2557; 7(1) มกราคม – มิถุนายน: 121 – 27 .
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care : LTC). สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2561.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (long term care : LTC). สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2559.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ. แผนพัฒนาผู้สูงอายุแห่งชาติ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว