การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นุชกานดา เพชรมะดัน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • รัชตวรรณ ศรีตระกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ, การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม, โรงพยาบาลตติยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน 3 ปีขึ้นไปในหอผู้ป่วยหนักด้านอายุรกรรม 31 หอผู้ป่วยของโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 แห่งจำนวน 405 ราย เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.986 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์องค์ประกอบโดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.3 ขึ้นไป ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตด้านอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 8 ด้าน จำนวน 68 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 71.024 ดังนี้ (1) ด้านการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมระยะสุดท้าย (2) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล (3) ด้านปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต อายุรกรรม (4) ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยวิกฤตขั้นสูง (5) ด้านการบริหารยาผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม (6) ด้านการจัดการความปลอดภัย (7) ด้านการสื่อสาร (8) ด้านการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลวิกฤตอายุรกรรม ผลการวิจัยครั้งนี้ นำไปเป็นแนวทางการคัดสรรบุคลากร การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะรายบุคคลและวางแผนการจัดทำหลักสูตรเตรียมความพร้อมของพยาบาลใหม่หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม

References

อภิรดี นันทศุภวัฒน์. ทักษะในการบริหารทางการพยาบาล. เชียงใหม่ : สยามพิมพ์นานา; 2561.

มยุรฉัตร ด้วงนคร, กุลวดี อภิชาตบุตร และรัตนาวดี ชอนตะวัน. การพัฒนากรอบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. พยาบาลสาร 2559; ฉบับพิเศษ: 129 – 39.

อภิญญา จำปามูล. How to set specific component. (เอกสารประกอบการประชุม) คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์; 2561.

The Faculty of Intensive Care Medicine. Curriculum for a CCT in Intensive Care Medicine. [on line]. (2016). [cited 11 January 2019]. Available from https: //www.ficm.ac.uk/faqs/icm-cct

CoBaTrICE Collaboration, Bion, J. F., & Barrett, H. Development of core competencies for an international training programme in intensive care medicine. Intensive care medicine 2006; 32(9): 1371 – 83.

พัชรินทร์ เกตษา และวิลาวรรณ พันธ์พฤกษ์. องค์ประกอบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558; 33(4): 24 – 32.

สุกานดา สุจิตรธรรมคุณ, ดาริณี สุวภาพ และมนสภรณ์ วิทูรเมธา. การศึกษาสมรรถนะเชิงเทคนิคในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ. 2554; 27(2): ก.

Hair, J. F. Black, W. C., Babin, B.J., & Anderson, R. E. Multivariate data analysis. : Pearson new international edition. Pearson Higher Edu; 2014.

อรพรรณ ไชยเพชร, กิตติกร นิลมานัตและ วิภาวี คงอินทร์. ประสบการณ์ของพยาบาลไอซียูในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารสภาการพยาบาล 2554; 26(1): 41 – 55.

จารุวรรณ บุญรัตน์ และสุพัตรา อุปนิสากร. การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยวิกฤตและครอบครัวในไอซียู:ประสบการณ์ทางการพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2555; 4(1): 1 – 13.

กุลพิชฌาย์ เวชรัชต์พิมล. แนวทางการสนทนาเพื่อเพิ่มคุณภาพการบริบาลผู้ป่วย ระยะท้ายในหอผู้ป่วยไอซียู. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2560; 61(3): 363 – 72.

Papadimos, T.J., & Stawicki, S.P.A. The death of Ilych:Ablueprint for intervention at the end of life. International Journal of Critical Illness & Injury Science 2011; 1(issue 2): 125 – 28.

Akgun, K.M., Kapo, J.M., & Siegel, M.D. Critical Care at the End of life. Seminars in Respiratory and Critical Care Medicine 2015; 36(6): 291 – 933.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. พยาบาลสารสนเทศ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(3): 81 – 5.

Clark. P. , Kirton. A. & Morris. S. All-Wales Critical Care Competencies (Adult nursing). [on line]. (2016). [cited 12 December 2017]. Available from http://www.wcctn.wales.nhs.uk/ opendoc/320723

เอมอร ยอดรักษ์, ณัฎฐิกา แต้, สุรีพร ศิริยะพันธ์ และสุกันติมา ทวีทอง. การพัฒนารูปแบบ การจัดการทีมช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ในหอผู้ป่วยสามัญ โรงพยาบาลยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้ 2020;7(1): 169 – 83.

Laura Dragoi, Damon C. Scales. Is hypothermia useful to prevent brain injury after cardiac arrest? In other settings?. Evidence-Based Practice of Critical Care (third edition); 2020.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. Patient Safety Goals : SIMPLE. นนทบุรี: ปรมัตถ์การพิมพ์; 2551.

สาหร่าย จันสา. อิทธิพลของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการทำงานเป็นทีมต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.วารสารพยาบาลทหารบก 2017; 18 (ฉบับพิเศษมกราคม – เมษายน): 299 – 307.

วรรณรัตน์ ศรีกนก และพัชราภรณ์ อุ่นเดจ๊ะ. การปฏิบัติการพยาบาลสู่การวิจัย. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(2): 15 – 22.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์. เกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด; 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28