ผลของโปรแกรมความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • ชูสง่า สีสัน โรงพยาบาลปักธงชัย
  • ธณกร ปัญญาใสโสภณ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 ราย เป็นกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพที่สร้างขึ้น และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 จำนวน 30 ราย เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพตามปกติ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ และแบบประเมินความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (กองสุขศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (Paired, independent samples t-test) ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มทดลอง มีความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

เพชรรัตน์ จิ๋วแก้ว บญจมาศ ชะดาจันทร์ ลัดดา แสงศรีและคณะ. การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. การประชุมระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2560

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560

Nutbeam D. Health promotion glossary. Switzerland: World health organization; 1998.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion international 2000; 15(3): 259 – 67.

Rajatanavin R, Ningsanon T.(Editor). Self care when sick.in HimathongkamT. Full knowledge of diabetes. Bangkok : Printing of Vitayapat; 2011.

Ovatakanont P. The Outcome of Diabetes Care and Factors Associated with Poor Glycemic Control among ype 2 Diabetic Patients in Saimun Hospital. [online]. (2016). [cited 2016 November 12]. Available : http://www.kmutt.ac.th/jif/ public_html/article_detail.php?ArticleID =96522

Jaisaen W. Systematic Review on Diabetic Control Interventions Among Persons with Diabetes Mellitus Type. Master of Nursing Science (Adult Nursing). [Master thesis]. Chiangmai : Chiangmai University; 2008.

Buraphunt R, Muangsom N.Factors Affecting Uncontrolled Type 2 Diabetes Mellitus of Patients in Sangkhom Hospital, Udonthani Province. KKU Journal for Public Health Research 2013; 6(3) July-September: 102 – 09.

Jonas G, Daniel A, Regina M, Alexandre L, Flavia C, & Wilson J. Functional health literacy and glycaemic ontrol in older adults with type2 diabetes: a cross- sectionalstudy. [online]. (2016) [cited 2016 August 11]. vailable from: http:// bmjopen.bmj.com/content/4/2/e004180.full.pdf+html.

อารยา เชียงของ พัชรี ดวงจันทร์ และอังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานวัยผู้ใหญ่:ประสบการณ์ของการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและมุมมองที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ทางสุขภาพ. วารสารเกื้อการุณย์ 2560; 24(2): 162 – 78.

โรงพยาบาลปักธงชัย. ข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลปักธงชัย. นครราชสีมา : โรงพยาบาลปักธงชัย; 2562. สำเนาอัด.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. สถิติเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

กรฐณธัช ปัญญาใส พิชามญชุ์ ภูเจริญ และณิชกมล เปียอยู่. การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560; 28(1): 51 – 62.

พรวิจิตร ปานนาค สุทธีพร มูลศาสตร์ และเชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางวัว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(3): 91 – 106.

สุพัตรา เชาว์ไวย นงพิมล นิมิตอานันท์ และศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ในชุมชน จังหวัดขอนก่อน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2562; 44(1): 25 – 34.

อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหินสุขใจ ไกลกังวล 2561; 3(2): 58 – 72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28