ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พิมพ์บุญญา สมุทรรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง

คำสำคัญ:

การรับรู้, แรงจูงใจ, การมีส่วนร่วม, ผู้นำชุมชน, การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้นำชุมชนในพื้นที่อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า จำนวน143 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ศึกษาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.90 อายุระหว่าง 51 – 60 ปี ร้อยละ 55.20 โดยมีอายุเฉลี่ย 51.01 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. ร้อยละ 31.50 ดำรงตำแหน่งในชุมชนเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมากที่สุด ร้อยละ 53.10ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งส่วนใหญ่ น้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 78.30 มีระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเฉลี่ย 7.7 ปี โดยปัจจัยการรับรู้การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุและแรงจูงใจใน การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมใน การส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุของผู้นำชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยการรับรู้การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุและแรงจูงใจใน การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น จึงควรจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจและให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้กับผู้นำชุมชนอย่างต่อเนื่องทุก 1 – 2 เดือน เพื่อให้ผู้นำชุมชนมีความพร้อมใน การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเชื่อมโยงกับการจัดทำแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเวทีต่าง ๆ รวมทั้งจะส่งผลต่อการรับรู้ พฤติกรรมและเป็นแรงจูงใจให้กับผู้นำชุมชนใน การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในทุกมิติต่อไป นอกจากนี้ ควรส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกด้านเพื่อสร้างความตระหนักและให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป

References

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. งานส่งเสริมผู้สูงอายุไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : กรมอนามัย; 2556.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2546.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.รายงานคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข.เอกสารอัดสำเนา; 2558.

ธัญญรัตน์ หงส์คง. ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลนาด้วง จังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

กิ่งกาญจนา เมืองโคตร. ศึกษาการพัฒนาต้นแบบเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติในชุมชน]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

อภิญญา ธรรมแสง เบญญาภา กาลเขว้าและประทีป กาลเขว้า. ศึกษาการดูแลผู้สูงอายุของครอบครัว การได้รับการเกื้อหนุนจากชุมชนในเขตชุมชนเมือง และชุมชนชนบท จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรขอนแก่น; 2554.

อารี พุ่มประไวทย์ และจรรยา เสียงเสนาะศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพฤติกรรม การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(3) กันยายน – ธันวาคม : 172.

ชาย ถนอมรัตน์. ศึกษาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์].ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28