ผลการสอบสวนและควบคุมโรคไข้เลือดออก จังหวัดนครราชสีมา 2562 กรณีศึกษา ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุภรณ์ ราชวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ไข้เด็งกี่, ไข้เลือดออก, การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนเวชระเบียน การสัมภาษณ์เพื่อค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน การสำรวจค่า HI,CI ศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการสำรวจสภาพแวดล้อมและการจับยุงเพื่อส่งตรวจหาซีโรทัยป์วิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยการทบทวนเวชระเบียน การสัมภาษณ์เพื่อค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน การสำรวจค่า HI, CI, ศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมทั้งการสำรวจสภาพแวดล้อมและการจับยุงเพื่อส่งตรวจหาซีโรทัยป์ ผลการศึกษา พบผู้ป่วยจำนวน 23 ราย ใน 2 หมู่บ้าน ของตำบลช้างทอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกัน อายุสูงสุด คือ 29 ปีต่ำสุด 2 ปี ค่ามัธยฐานอายุ คือ 11.5 พบมากในกลุ่มอายุ15-19 ปี รองลงไปคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1.30:1 พบสูงมากในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝนโดยพบมากถึง 17 ราย ผลการสำรวจค่า HI, CI ในชุมชนและโรงเรียนสูงเกินค่ามาตรฐาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 4 รายพบเป็นซีโรทัยป์ 1 ผลการสุ่มจับยุงไปตรวจ ผลพบ Strain Culex spp มากกว่า Aedes aegypti ซึ่งสอดคล้องกับโรคที่ลดลงและโรคสงบลง ผลการศึกษา สายพันธุ์ยุง พบสายพันธุ์ Strain Culex spp. จำนวน 59 ตัวอย่าง และAedes aegypti จำนวน 6 ตัวอย่าง mosquito (Sex/pool) เพศเมีย 2 ตัวอย่าง เพศผู้ 4 ตัวอย่าง ในโรงเรียน 20 ตัวอย่าง พบยุง Culex spp.ในห้องน้ำและในยางรถยนต์ รวม 19 ตัวอย่าง และพบ Aedes aegypti ในห้องน้ำนักเรียนหญิง 1 ตัวอย่าง และผลการตรวจ Hemi-nested RT PCR for ZIKA Virus ผล negative

References

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ เสาวรักษ์ ฮิ้นจ้อย คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ และคณะ. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ. กรุงเทพฯ : บริษัทฮีซ์ จำกัด; 2557.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก 2561. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://www.thaivbd.org/n/uploads/file/file_PDF/Dengue/2561/DHF%202561.pd

กัญญรัตน์ สระแก้ว. สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พ.ศ.2560 และการพยากรณ์โรค พ.ศ.2561 เขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เลิศศิลป์สาส์น โฮลดิ้ง; 2561.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. พยากรณ์โรคและพฤติกภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ฉบับที่ 161(20-26 พฤษภาคม 2561).[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 7 มิถุนายน 2561] เข้าถึงได้จาก: http://www. riskcomthai.org/2017/detail.php?id=37463

งานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคติดต่อสำคัญ เดือนพฤษภาคม.นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2561.

สุริยะ คูหะรัตน์.นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2554.

บุญเสริม อ่วมอ่อง. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555

สำนักระบาดวิทยา. กรมควบคุมโรค.รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ปีที่ 47 ฉบับที่ 46. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2559

ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์และวารุณี วัชรเสวี. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเด็งกี่ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพิ์กรุงเทพเวชสาร; 2556.

ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ ชัยนันต์ บุตรกาล ภันทิลา ทวีวิกยกาล และคณะ.รายงานการเฝ้าระวังระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ ปีที่ 46 ฉบับที่ 6. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28