ประสิทธิภาพของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรสวนยางพารา อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เกษตรกรสวนยางพารา, สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบทคัดย่อ
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกระบวนการผลิตยางพาราตั้งแต่การปลูกยางพารา การกรีดยางพารา การทำยางแผ่น และการดูแลบำรุงรักษาต้นยางพาราเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรสวนยางพารา อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรสวนยางพารา อายุระหว่าง 18 – 59 ปี มีระดับ Cholinesterase enzyme ในเลือดอยู่ระดับเสี่ยงหรือระดับไม่ปลอดภัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มเปรียบเทียบดำเนินชีวิตตามปกติ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t – test ,Paired t – test และ McNemar’s Chi – Square test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
จากการศึกษาวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สอดคล้องกับระดับ Cholinesterase enzyme ในเลือดเกษตรกรสวนยางพาราที่อยู่ในระดับปลอดภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถนำไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและลดระดับการทำงาน Cholinesterase enzyme ในเลือดเกษตรกรสวนยางพาราให้อยู่ระดับปกติหรือระดับปลอดภัยเพิ่มขึ้น
References
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทวงเกษตรและสหกรณ์. รายงานข้อมูลการผลิตพืช ชนิดยางพารา. [ออนไลน์]. (2563).[เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://production.doae .go.th/service /site/ login
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถาการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2561.[ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http : //envocc.moph.go.th
ยศ บริสุทธิ์ และคณะ. เรามีความเข้าใจปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยในพื้นที่ส่งเสริมใหม่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจริงหรือ?. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) 2555; 35 : 235 – 48.
กษิดิ์เดช วิจิตรานนท์ และคณะ. ภาวะสุขภาพและปัจจัยคุกคามสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนยางพารา กรณีศึกษา ตำบลละอุ่นใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. การประชุมวิชาการระดับชาติ การเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 6 “Active Learning ตอบโจทย์ Thailand 4.0 อย่างไร” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2561.
สมปอง พรหมพลจร และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. ภาวะสุขภาพของผู้กรีดยางพาราในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 4 (2) : 225 – 40.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การเข้ารับบริการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.[ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.nhso.go.th
สุจิตรา ยอดจันทร์และคณะ. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; 5(2) : 45 – 46 .
พรทิวา ทบคลัง และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา 2562; 42(1) : 80 – 92 .
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2552.
นุชนาฏ ศรทะเดช และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร. วารสารควบคุมโรค 2559; 42(2) : 108 – 13 .
นุกูล หนูสุข. ผลของโปรแกรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้สูงอายุ โดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในพื้นที่ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก 2561; 5(2) : 1 – 3 .
พุทธมาศ ส่งคืน และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา 2561; 12(2) : 82 – 93.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว