แนวทางการส่งเสริมศักยภาพของสื่อท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพในชนบทภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • หนึ่งหทัย ขอผลกลาง สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ศักยภาพของสื่อท้องถิ่น, การสื่อสารสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ บทบาท ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรค ความพึงพอใจและความคาดหวังพร้อมทั้งแสวงหาแนวทางที่พึงประสงค์ในการใช้สื่อท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพในชนบทภาคเหนือให้เกิดประโยชน์สูงสุด เครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัย ได้แก่ (1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับผู้บริหารสื่อท้องถิ่น และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับประชาชน  (2) แบบสอบถามประชาชนที่เปิดรับสื่อท้องถิ่น (3) แบบวิเคราะห์เนื้อหาสื่อท้องถิ่น ได้แก่ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นหลัก สถานีวิทยุชุมชน เคเบิลทีวีท้องถิ่น และหอกระจายข่าว กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สื่อท้องถิ่น จำนวน 10 สื่อ (2) นักสื่อสารสุขภาพ จำนวน 20 คน และ(3) ประชาชนทั่วไป จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) สื่อท้องถิ่นมีศักยภาพในด้าน ผู้บริหารดำเนินการจัดผังรายการและสัดส่วนของรายการ หน่วยงานราชการสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ สื่อท้องถิ่นเข้าถึงง่าย ใกล้ชิดประชาชน (2) บทบาทของสื่อท้องถิ่น คือ การแจ้งข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในท้องถิ่น (3) ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารสุขภาพได้แก่ ขาดอิสระในการดำเนินงานเพราะอยู่ในกำกับของภาครัฐ ขาดงบประมาณ (4) ประชาชนมีความพึงพอใจต่อสื่อท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับเฉย ๆ ส่วนความคาดหวังประชาชนคาดหวังโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก (5) แนวทางที่พึงประสงค์ฯ มีดังนี้ (5.1) ด้านการสื่อสารสุขภาพที่พึงประสงค์ ควรมีการให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และการควรมีการประเมินความพึงพอใจจากประชาชน (5.2) ด้านเนื้อหาสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ ควรให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่นำไปสู่โรคต่าง ๆ ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ และความรู้เรื่องครอบครัว (5.3) ด้านบทบาทที่พึงประสงค์ ได้แก่ บทบาทในการให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย บทบาทในการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนข้อเสนอแนะ ควรมีการสร้างภาคีเครือสุขภาพภายในชุมชน

References

ประเวศ วะสี. สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักงานปฏิรูปสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2543.

Ratzan, S. C. Health Communication : Challenges for the 21st Century. American Behavioral Scientist. 1994; 38(2) : 197 – 380.

ดวงพร คำนูณวัฒน์ วาสนา จันทร์สว่าง และมณฑา โมฬี. การดำเนินงานหอกระจายข่าวที่สนองตอบความต้องการของชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.); 2549.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุขประจำปี พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์; 2559.

เกศินี จุฑาวิจิตร. การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม; 2548.

กำจร หลุยยะพงศ์. ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และการสื่อสาร หน่วยที่ 10. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย -สุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

พีระ จิรโสภณ. ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และการสื่อสาร หน่วยที่ 12. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย -สุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. การสื่อสารสุขภาพ ศักยภาพของสื่อมวลชนในการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์; 2546.

ชุติมันต์ เหลืองทองคำ. บทบาทด้านประชาสังคมของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายวัน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 2556 : 58 – 76.

เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน และ วิเชียร ก่อกิจกุศล. แนวทางการบริหารจัดการหอกระจายข่าวแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 2561; 12(1) (มกราคม – เมษายน 2561) : 29 – 41.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ : ที.พี. พริ้นท์; 2542.

บัวผิน โตทรัพย์. พฤติกรรมการเปิดรับฟังและความพึงพอใจของผู้ฟังที่มีต่อสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เอฟ. เอ็ม. 89.75 เมกะเฮิรตซ์. วารสารนิทเศษสตร์ธุรกิจบัณฑิต. 2559; 10(2) : 177 – 203.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02